วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน ววันที่ 23 กันยายน 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน ววันที่ 23 กันยายน 2556
เนื้อหาการเรียนการสอน
- เรียนเรื่อง โภชนาการอาหารที่เกมาะสมกับเด็กปฐมวัย
- การประกอบอาหารที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ทำกิจกรรมกลุ่มในการประกอบอาหาร "ข้าวผัด" โดยมีส่วนประกอบดังนี้
- อุปกรณ์เครื่องครัว
- ข้าวสวย
- ไข่
- เนื้อสัตว์
- น้ำมันพืช
- ผักชนิดต่างๆ
2. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ ซึ่งสามารถสรุปทำความเข้าใจได้ดังนี้
- ข้าวผัดมีความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย แต่หากอยากให้เด็กได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่
ควร เติม เนื้อสัตว์ ผักชนิดต่างๆ เช่น แครอท ผักใบเขียว เป็นต้น และควรใช้เครื่องปรุงรสให้น้อย
ความรู้เพิ่มเติม
ข้าวผัดไข่
ส่วนประกอบ
- ข้าวสวย 1 ถ้วย
- ไข่ไก่ 1-2 ฟอง
- กระเทียมสับ 1 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
- น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

- นำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมัน พอร้อนใส่กระเทียวเจียวพอหอม ต่อยไข่ใส่
- ผัดยีให้กระจาย พอสุกใส่ข้าวผัดเคล้าให้เข้ากัน
- ปรุงรสด้วยน้ำตาล ซีอิ๊วขาว เกลือ ผัดให้เข้ากันปิดไฟ
- ตักใส่จาน แต่งด้วยพริกชี้ฟ้าหั่นฝอย ผักชีเด็ดเป็นใบ รับประทานกับแตงกวา ต้นหอม

 

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 16 กันยายน 2556

แบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 16 กันยายน 2556
เนื้อหาการเรียนการสอน
- ศึกษาเรื่อง การจัดแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัยด้วยอาหาร 5 หมู่
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ทำกิจกรรมกลุ่ม เรื่องการเขียนแผนจัดประสบการณ์เรื่องอาหาร
2. ศึกษาถึงประเภทของอาการที่ส่งเสริมแลพเหมาะสมต่อเด็กปฐมวัย
ความรู้เพิ่มเติม 
อาหารหลัก 5 หมู่...คุณรู้ดีแค่ไหน (สสส.)

มีแรงจูงใจ 2 ประการที่จำเป็นจะต้องนำอาหารหลัก 5 หมู่ มาทบทวนตอกย้ำ ทั้งที่ทราบดีว่าคนไทยส่วนมากรู้จักมักคุ้นอยู่แล้ว
แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่พอพูดถึงอาหารหลัก 5 หมู่ มักจะบอกเป็นสารอาหาร 5 ชนิด แทนการบอกชนิดของอาหาร ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญมากนัก แต่อยากจะให้คนไทยได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

อีกประการหนึ่ง อาจจะดูเป็นเรื่องตลกแต่สะท้อนใจให้เห็นอะไรบางอย่าง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นนานมาแล้ว

ที่หมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่ง มีนักวิชาการไปสอนให้ชาวบ้านกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ อธิบายอย่างยืดยาวแล้วบอกชาวบ้านว่า เดือนหน้าจะมาเพื่อติดตามดูว่าชาวบ้านกินครบ 5 หมู่หรือไม่ พอครบหนึ่งเดือนนักวิชาการกลับมายังหมู่บ้านแห่งนั้น เริ่มด้วยการถามคุณยายคำ อายุ 70 ปี ว่ากินอาหารครบ 5 หมู่ไหม ยายคำตอบชัดถ้อยชัดคำว่าเพิ่งกินได้แค่ 4 หมู่เอง หมู่ที่ 5 ยังไม่ได้กิน นักวิชาการถามกลับไปว่าเพราะเหตุใด ยายคำตะโกนก้องว่า หมู่ 5 อยู่ไกลมากเดินไปกินไม่ไหว ยายคำคิดว่านักวิชาการบอกให้กินเป็นรายหมู่บ้าน เรื่องนี้น่าจะเกิดการผิดพลาดแน่นอน หากนักวิชาการมีวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับชาวบ้าน

ส่วนความสับสนระหว่างการเรียกชื่ออาหารให้ครบ 5 หมู่ กับเรียกสารอาหาร 5 ชนิดแทนนั้น จะขอทบทวนให้เข้าใจตรงกันดังนี้

หมู่ที่ 1 เรียกว่า นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ให้สารอาหารโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

หมู่ที่ 2 เรียกว่า ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย

หมู่ที่ 3 เรียกว่า พืชผักต่าง ๆ ให้สารอาหารวิตามิน และแร่ธาตุ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้ปกติ

หมู่ที่ 4 เรียกว่า ผลไม้ต่าง ๆ ให้สารอาหารและประโยชน์เหมือนหมู่ที่ 3

หมู่ที่ 5 เรียกว่า น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ให้สารอาหารไขมัน เพื่อให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย

ต่อไปนี้เราไม่ควรเรียก อาหารหมู่ 1 โปรตีน หมู่ 2 คาร์โบไฮเดรต หมู่ 3 วิตามิน หมู่ 4 แร่ธาตุ หมู่ 5 ไขมัน อีกต่อไปแล้ว ควรเรียกชื่ออาหารแทน

เหตุผลที่กำหนดอาหารหลัก 5 หมู่ขึ้นก็เพื่อที่จะให้คนไทยกินอาหารให้ได้สารอาหาร ครบ 5 ชนิด โดยนำเอาอาหารที่มีสารอาหารเหมือนกันมาไว้ในหมู่เดียวกัน แต่ร่างกายของคนเราต้องการสารอาหารให้ครบทั้ง 5 ชนิดในแต่ละวัน ดังนั้น เราจึงต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน เพราะไม่มีอาหารชนิดในชนิดหนึ่งที่จะให้สารอาหารครบทั้ง 5 ชนิด

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 9 กันยายน 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 9 กันยายน 2556
กิจกกรมการเรียนการสอน
- ไม่มีการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระและนัดเรียนชดเชย
ในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556
ความรู้เพิ่มเติม
21106




     กล้องเพอริสโคปเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในเรือดำน้ำ เพื่อให้มองเห็นสิ่งที่อยู่บนผิวน้ำในขณะที่เรือกำลังดำอยู่ใต้น้ำได้ กล้องชนิดนี้สามารถช่วยให้มองเห็นวัตถุที่มิได้อยู่ในแนวสายตา หรือมองจากที่กำบัง ซึ่งเป็นวัตถุทึบแสงได้อย่างดี ตัวกล้องเป็นกระบอกยาว ภายในมีเลนส์หลายอันแท่งปริซึมหรือกระจกเงาเอียงเป็นมุม เพื่อให้สะท้องแสง
     แสงจากวัตถุที่อยู่เหนือผิวน้ำเมื่อผ่านเข้ามาทางปากกล้อง จะเปลี่ยนทิศทางเดินเมื่อผ่านแท่งปริซึมจากนั้นแสงนี้จะผ่านเลนส์ซึ่งจะทำให้เกิดภาพขยายขนาดใหญ่ขึ้น กล้องเพอริสโคปที่ใช้ในเรือดำน้ำมีส่วนบนของกล้องเรียวเล็กกว่าส่วนที่ฐาน เพื่อให้เลื่อนกล้องให้มีขนาดยาวหรือสั้นได้ง่ายและสามารถหมุนได้รอบตัว เพื่อให้เห็นภาพได้รอบทิศ ขณะเรืออยู่ใต้น้ำ จะสามารถมองโผล่กล้องขึ้นมาเหนือผิวน้ำ ทำให้ผู้ที่อยู่ในเรือดำน้ำสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่บนผิวน้ำ เช่น เรือข้าศึก ได้อย่างชัดเจน
     นอกจากใช้ในเรือดำน้ำ กล้องเพอริสโคปยังอาจใช้ในป้อม ในสนามเพลาะ ในรถเกราะ หรือส่องดูการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูได้อีกด้วยกล้องเพอริสโคปอย่างง่าย ซึ่งทำขึ้นจากกระจกเงาบางวางเอียงทำมุมกัน เป็นกล้องที่ทุกคนอาจสร้างขึ้นเอง สำหรับใช้ดูขบวนแห่ ดูพิธีแรกนาขวัญ หรือมองข้ามที่กำบัง เช่น กำแพงสูงๆ ได้อย่างดี
ชนิดของสื่อการสอน

สื่อการสอนที่ใช้ในการสอนมีหลายชนิดสำหรับเด็กปฐมวัยอาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการ นับว่าเป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น ได้แก่
1. ครู
ครูเป็นสื่อที่นับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ในการเรียนรู้และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน หากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลต่อเด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
สื่อชนิดนี้ครูหรือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เพียงแต่ผู้ใช้จะต้องเลือกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบ ก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ฤดูฝน เพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพไข่กบ ลูกอ็อด และลูกกบ ประกอบคำอธิบาย เป็นต้น
3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหา หรือจัดทำขึ้น ได้แก่
ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด เกม วีดีทัศน์ ฯลฯ
นอกเหนือจากนี้ สื่อดังกล่าวอาจแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น ภาพ เปลือกหอย ฯลฯ
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ เช่น วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม เช่น การสาธิต การทดลอง เกม
บทบาทสมมติ ฯลฯ

การจัดหาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
ก่อนที่ครูปฐมวัยจะจัดสื่อการสอนนั้นควรคำนึงถึงสื่อที่อยู่ใกล้ตัวก่อน ซึ่งอาจเป็นสื่อของจริงชนิดต่าง ๆ หรือสื่อสำเร็จรูป ได้แก่ ตุ๊กตา หุ่นจำลอง แล้วจึงคิดต่อไปว่าสื่อชนิดใดจะจัดทำขึ้นได้อย่างง่าย ๆ ประหยัดวัตถุดิบ ประหยัดเวลาและแรงงาน ได้ผลคุ้มค่า และใช้ประโยชน์ได้ตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ถึงแม้ว่าสื่อนั้นจะไม่สวยงามเท่ากับสื่อที่จัดทำขึ้นด้วยเครื่องจักรซึ่งมีความประณีตงดงามก็ตาม และที่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้าครูสามารถผลิตสื่อได้เองก็จะเป็นการดี ไม่ต้องรองบประมาณในการจัดซื้อ
ครูปฐมวัยต้องจัดหาและรวบรวมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นครูควรจะทราบถึงแหล่งของวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการที่จะได้สื่อ วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมา
แหล่งสื่อที่ครูสามารถรวบรวมได้ ได้แก่
1 พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็ก พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากที่ได้สะสมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้มาก เช่น เขาได้ไปเที่ยวทะเลมาเขาก็สะสมเปลือกหอยต่าง ๆ ไว้ ถ้าทางโรงเรียนได้บอกถึงความต้องการสิ่งเหล่านี้ ผู้ปกครองเด็กมีความยินดีที่จะบริจาคให้ หรือผู้ปกครองบางคนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อยู่ เขาอาจจะบริจาคเป็นเงินเพื่อให้ซื้อก็ได้ หรือบางคนอาจจะให้ยืมมาใช้
2 บุคคลต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ เจ้าของร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน บุคคลเหล่านี้จำนวนมากต้องการช่วยเหลือโรงเรียนอยู่แล้ว ถ้าโรงเรียนแจ้งความจำนง
3 ซื้อจากร้านค้า ซึ่งอาจจะหาซื้อได้จากร้านค้าที่เป็นของคุรุสภาหรือของเอกชนทั่ว ๆ ไป
4 ประดิษฐ์ขึ้นเอง ทางโรงเรียนอาจจะทำขึ้นมาเอง หรือเชิญคนในชุมชนที่มีความสามารถร่วมกันจัดทำ โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ในการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ครูควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- ความปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาให้เด็กใช้ต้องปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ เช่น ไม่มีคมที่อาจบาดมือเด็กได้ หรือสีที่ใช้ต้องไม่มีอันตรายต่อสุขภาพเด็ก เป็นต้น
- ความเหมาะสม วัสดุอุปกรณ์ทึ่จัดหามานั้นต้องมีขนาดเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กสามารถหยิบใช้ได้เอง นอกจากนั้นยังต้องเหมาะสมกับเรื่องที่สอนด้วย
- ราคาถูก ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินซื้อหรือซื้อก็ใช้เงินเพียงเล็กน้อย
- สะดวกในการขนย้ายและเก็บรักษา
- พยายามใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ต้นไม้ อากาศ ไอน้ำ ฯลฯ
ในสภาพปัจจุบัน โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดซื้อ จัดหาสื่อการสอนและของเล่นเด็กได้ครบถ้วนทุกประการ ทั้งนี้ครูปฐมวัยจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนทักษะ การคิดค้น ประดิษฐ์ สะสมวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ที่พอจะหาได้ในท้องถิ่น เช่น ขวดพลาสติก จุกขวดฝาน้ำอัดลม กระป๋องนม เศษผ้า เศษไม้ กล่องกระดาษ ลังกระดาษ เมล็ดพืช ใบไม้ ดอกไม้ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ หาได้จากเด็ก ๆ ในโรงเรียน เพื่อนครู เพื่อนบ้าน ครูปฐมวัยควรฝึกการชอบสะสมเศษวัสดุเพื่อนำมาผลิตเป็นสื่อ
การใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
ในแต่ละวันที่จัดกิจกรรมให้เด็ก กิจกรรมนั้นควรมีสื่อเป็นเครื่องมือชักนำให้เด็กมีความสนใจในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ นานพอสมควร วิธีการใช้สื่อ โดยพิจารณาจากกิจกรรมจะขอกล่าวถึงกิจกรรมในวงกลมหรือกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นตัวอย่างของการใช้สื่อเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของเด็ก โดยนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พร้อมทั้งสื่อเสนอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
1. กิจกรรมทายเสียงสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักธรรมชาติเกี่ยวกับสัตว์
กิจกรรมและสื่อ ครูทำเสียงสัตว์ต่าง ๆ ให้เด็กทาย การทายนี้อาจจะให้เด็ก
ตอบปากเปล่าหรือใช้ภาพสัตว์ หรือชูภาพสัตว์ที่ครูทำไว้ ชู
ให้ครูและเพื่อน ๆ ดู
2. กิจกรรมทายกลิ่น
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูลองหาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ
ผิวส้ม กะปิ ใบตะไคร้ ใบเตย ฯลฯ เท่าที่พอจะหาได้ให้
เด็กได้มีโอกาสดมและรู้จักจนแน่ใจ
2) ใช้ผ้าปิดตาผู้ที่จะทาย แล้วให้ผู้นั้นมีโอกาสเพียงดมกลิ่น
สิ่งต่าง ๆ ที่ละอย่าง แล้วตอบว่าแต่ละอย่างคือสิ่งใดบ้าง
3. กิจกรรมชิมรส
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูนำสิ่งที่เด็กจะรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย เช่น
เกลือ น้ำตาล มะนาว มะระ ฯลฯ มาให้เด็กมีโอกาสเห็น
และชิม
2) ใช้ผ้าปิดตาผู้เป็นอาสาสมัครแล้วให้ชิมสิ่งต่าง ๆ แล้วให้
ทายว่าสิ่งนั้นคืออะไร
4. กิจกรรมหลับตาคลำสิ่งของ
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะเด่นชัดของสิ่งของต่าง ๆ
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูให้เด็กได้สัมผัสของเล่นหรือสิ่งของต่าง ๆ เช่น ผลไม้
ดอกไม้
2) ปิดตาอาสาสมัคร แล้วให้สัมผัสของแต่ละชนิดแล้วทาย
ว่าคืออะไร
5. กิจกรรมบอกส่วนต่าง ๆ ของพืช
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนต่าง ๆ ของพืช
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูนำพืชที่มีส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ เช่น ราก ใบ ดอก
ผล มาให้เด็กพิจารณา และแนะนำส่วนสำคัญเหล่านั้น
2) ครูให้เด็กชี้บอกส่วนต่าง ๆ ตามครูบอกชื่อหรือใน
ทำนองกลับกัน ให้ครูเป็นฝ่ายชี้ให้เด็กบอกว่าส่วนของ
พืชที่ครูชี้นั้นเรียกว่าอะไร
6. กิจกรรมจับคู่แม่ลูก
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของสัตว์เมื่อยังตัวเล็ก-โต
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูจัดทำภาพลูกสัตว์กับพ่อหรือแม่ของสัตว์ต่าง ๆ เหล่า
นั้น เป็นคู่ ๆ
2) นำภาพเหล่านั้นคว่ำลงปนกัน แล้วให้เด็กแข่งขันกัน
เลือกให้เข้าคู่เป็นคู่ ๆ
7. กิจกรรมแยกประเภทสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักแบ่งประเภทของสัตว์อย่างง่าย ๆ
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูจัดทำภาพสัตว์หลาย ๆ ชนิดที่เด็กรู้จักแล้ว แนะนำว่า
สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ป่า
2) ให้เด็กแยกประเภทสัตว์ไปตั้งกับฉากที่จัดทำไว้เป็น 2
แบบ คือ ฉากป่า กับฉากบ้าน
8. กิจกรรมเกมสัตว์เลี้ยง
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักชื่อสัตว์ชนิดต่าง ๆ มากขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
1) ให้เด็กแต่ละคนบอกชื่อสัตว์มาคนละชนิด และจำไว้ว่าตัวเองคือสัตว์ชนิดใด
2) จัดเด็กนั่งล้อมกันเป็นวงกลม โดยให้มีจำนวนเก้าอี้น้อย
กว่าผู้เล่น 1 คน ดังนั้นจะมีผู้เล่นซึ่งจะเป็นถามกลางวง 1
คน ผู้ถามจะถามใครก่อนก็ได้เธอรักสัตว์ต่าง ๆ ไหมถ้า
ผู้ถูกถามตอบว่า รักทุกคนรวมทั้งผู้ถามและผู้ถูกถามจะ
ต้องรีบลุกขึ้นเปลี่ยนที่นั่งซึ่งย่อมจะมีผู้ที่ไม่มีที่นั่งเหลืออยู่
คนหนึ่งเป็นคนถาม เมื่อมีการถามว่า เธอรักสัตว์ต่าง ๆ
ไหมและถ้าผู้ตอบตอบเช่นเดิม ทุกคนก็จะต้องลุกขึ้น
เปลี่ยนอีกที แต่ถ้าผู้ตอบคนใดตอบว่า ไม่รักผู้ถามจะต้อง
ซักต่อไปว่า ไม่รักแมว ลิง หมาทุกคนที่สมมติตัวอย่าง
ว่าเป็นสัตว์เหล่านั้น ก็จะต้องลุกขึ้นเปลี่ยนที่และจะมีผู้ที่ไม่
มีที่นั่งเหลืออยู่ต่อไป (เกมนี้ครูควรจัดทำหน้ากากเป็นรูป
สัตว์ต่าง ๆ แจกให้เด็กแต่ละคนสวมด้วย เพื่อทุกคนจะได้
เห็นว่าเพื่อน ๆ ที่ร่วมแสดงนั้นเล่นเป็นตัวแทนสัตว์ชนิดใด
บ้าง
9. กิจกรรมลอกและพิมพ์เส้นใบของใบไม้
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เห็นลักษณะของใบไม้ที่แตกต่างกันออกไป
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูนำใบไม้ชนิดต่าง ๆ กระดาษขาว สีเทียนมาเตรียมเป็น
สื่อสำหรับเด็ก
2) เปิดโอกาสให้เด็กลอกเส้นของใบไม้ โดยการใช้กระดาษ
ทาบลงบนใบไม้ แล้วถูด้วยสีเทียน ลายเส้นของใบไม้จะ
ปรากฏขึ้นมาอย่างเห็นชัดเจน
10. กิจกรรมเลือกอาหารสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้มีพื้นฐานในการเลี้ยงดูสัตว์
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูสนทนากับนักเรียน เรืองสัตว์ชนิดต่าง ๆ แล้วอภิปราย
เกี่ยวกับอาหารสัตว์แต่ละชนิดชอบกิน
2) ครูจัดทำภาพอาหารสัตว์ชนิดต่าง ๆ และภาพสัตว์มาเพื่อ
ให้นักเรียนจับคู่โดยการโยงเส้น หรือใช้ริบบิ้นตัดโยง
ภาพสัตว์และอาหารที่สัตว์แต่ละชนิดชอบ
11. กิจกรรมสำรวจอ่างปลา
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตเกี่ยวกับพืช สัตว์ และสิ่งที่ไม่มีชีวิตกิจกรรมและสื่อ
1) ครูให้นักเรียนมีโอกาสไปดูอ่างเลี้ยงปลาอย่างใกล้ ๆ เพื่อ
ดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในอ่างเลี้ยงปลานั้น
2) ครูถามนักเรียนด้วยคำถามง่าย ๆ เช่น มีสัตว์ชนิดใดบ้าง
ในอ่าง มีพืชชนิดใด และมีสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่พืชหรือสัตว์
12. กิจกรรมทายรอยเท้าสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะของรอยเท้าสัตว์ชนิดต่าง ๆ
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูให้นักเรียนล้างเท้า แล้วเดินบนพื้นให้เป็นรอยเท้าของ
ตนเอง
2) ครูนำสัตว์บางชนิดที่หาง่าย เช่น สุนัข แมว มาพิมพ์รอย
เท้าของสัตว์เหล่านี้บนกระดาษขาว ให้เด็กได้สังเกต ต่อ
จากนั้นจึงดำเนินกิจกรรมทายรอยเท้าของสัตว์อื่น ๆ ต่อ
ไป โดยอาจจะต้องหาโอกาสนให้เด็กได้เห็นสัตว์หรือ
ภาพสัตว์ชนิดนั้นก่อน
13. กิจกรรมรุ้งกินน้ำจำลอง
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดรู้งกินน้ำ
กิจกรรมและสื่อ ครูหรือนักเรียนอาจทำรุ้งกินน้ำเอง โดยการอมน้ำไว้ในปาก
แล้วพ่นพานแสงแดดที่ส่องผ่านช่องลม หรือรอยแตกของ
ผนัง ซึ่งภายในห้องมืดจะเห็นลักษณะของรุ้งกินน้ำ เกิดขึ้น
ชั่วครู่หนึ่ง หากไม่ใช้วิธีอมน้ำพ่น อาจใช้กระบอกฉีดน้ำที่
ใช้พรมผ้าในขณะรีดผ้าแทนก็ได้
14. กิจกรรมแยกพวกสารแม่เหล็ก
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติของแม่เหล็ก
กิจกรรมและสื่อ ครูนำของหลาย ๆ ชนิดใส่ไว้บนถาดหรือวางบนโต๊ะ แล้ว
ให้เด็กลองใช้แม่เหล็กเข้าไปใกล้ ๆ ของแต่ละอย่าง แล้ว
แยกว่าของชนิดใดที่ดูดติดกับแม่เหล็กก็ไว้พวกหนึ่ง พวกที่
ไม่ติดแม่เหล็กไว้อีกพวกหนึ่ง
15. กิจกรรมเกมเหยียบเงา
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เห็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
กิจกรรมและสื่อ ในตอนเช้าหรือบ่ายแดดอ่อนพอที่จะทำให้เกิดเงาที่มองเห็น
ได้ ครูอาจพานักเรียนมาเล่นเหยียบเงากัน โดยใครถูกคนอื่นเหยียบเงา ก็จะแพ้ต้องออกจากวงไป ทั้งนี้นอกจากจะได้รับความสนุกสนาน ได้ออกกำลังกายแล้ว ยังได้เห็นว่าเงาเกิดจากการที่ตัวเอง (ทึบแสง) กั้นแสงสว่างไว้
การจัดเก็บสื่อวิทยาศาสตร์
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ควรมีการจัดเก็บดังนี้
- การเก็บวัสดุอุปกรณ์ควรวางไว้บนชั้นที่ต่ำ เด็กสามารถหยิบยกด้วนตนเองได้
- วัสดุอุปกรณ์ใดที่จะต้องนำมาใช้ในเรื่องเดียวกัน ควรเก็บไว้ในกล่องเดียวกัน กล่องที่จะนำมาบรรจุวัสดุอุปกรณ์ควรเป็นกล่องเล็ก ถ้าใช้กล่องใหญ่เด็กอาจไม่สามารถยกได้และอาจตกลงมาทับเด็ก
- การจัดวัสดุอุปกรณ์ต้องจัดเพื่อยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจในการที่จะเอาออกมาทำกิจกรรม
- หมั่นตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์อยู่เสมอ ถ้าพบสิ่งใดชำรุดควรซ่อมแซม หรือไม่นำมาใช้
- ใช้ระบบสัญลักษณ์มาช่วยในการจัดประเภทวัสดุ ไม่ควรใช้ตัวหนังสือเพราะเด็กยังอ่านไม่ออก เช่นใช้สีเป็นเครื่องหมายบอกหมวดหมู่เพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น หรือใช้ภาพ
ประโยชน์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
1. ช่วยให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเด็กได้เห็น ได้ทดลองและได้ทำด้วยตนเอง
2. ช่วยให้เด็กเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกินความสามารถของเด็ก
3. ช่วยให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจแก่เด็กยิ่งขึ้น อันเป็นเครื่องยั่วยุให้เด็กเกิดความตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี
4. ช่วยให้เด็กเห็นบทเรียนต่อเนื่องกัน เกิดความคิดและเข้าใจได้ง่าย เช่น ดูภาพยนตร์หรือภาพพลิกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของแมลง เห็นความเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ
5. ช่วยให้จัดกิจกรรมให้เด็กร่วมในบทเรียนง่ายเข้า
6. ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้นานและมากขึ้น
7. ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนเพราะเด็กเรียนด้วยความสนุกสนานและ
เข้าใจ
ตัวอย่างสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
ในชั้นปฐมวัยไม่ได้สอนเป็นรายวิชา เป็นการเตรียมความพร้อมโดยนำเอาวิชาต่าง ๆ มาบูรณาการเป็นหน่วย และสอดแทรกวิธีสอนแบบเรียนปนเล่นด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นสื่อการสอนหากจัดโดยยึดตามรายวิชาแล้ว สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสื่อที่พบหาได้จากธรรมชาติ หรือครูสามารถประดิษฐ์ขึ้นมาได้เอง ตัวอย่างเช่น
1. ของจริง
ของจริง ได้แก่ วัตถุ (คน พืช สัตว์ สิ่งของ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ) สถานการณ์จริง
ปรากฏการณ์จริง เป็นสื่อการสอนที่ใช้มากที่สุดในระดับปฐมวัย เนื่องจากเป็นสื่อที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม และเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้านของตนเอง ในสภาพการณ์จริง สื่อชนิดนี้เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด เพราะเด็กต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อม ต้องการที่จะสัมผัสแตะต้อง ได้เห็น ได้ยิน ได้ชิม หรือได้ดมด้วยตนเอง
ตัวอย่าง สื่อของจริง เช่น ดอกไม้จริง ดินชนิดต่าง ๆ ก้อนหิน ต้นไม้ ฯลฯ
2. ของจำลอง และสถานการณ์จำลอง
เป็นสื่อที่ใกล้เคียงของจริงหรือสถานการณ์จริงมากที่สุด ในบางครั้งประสบการณ์ตรง
นั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ หรืออาจเป็นอันตราย หรือของจริงอาจมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน อยู่ไกลเกินกว่าที่จะนำมาศึกษาได้ จึงต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงที่สุด เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และเข้าใจได้ง่าย
ตัวอย่าง สื่อของจำลอง เช่น ผลไม้จำลอง หุ่นจำลองต่าง ๆ
3. ภาพ บัตรภาพ ภาพชุด และแผนภูมิ
ภาพ บัตรภาพ หรือภาพชุด แผนภูมิที่เกี่ยวกับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ นำมาใช้
ประกอบการสอนของครูในการให้แนวคิดต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อครูสอนแนวคิดอะไรก็นำภาพ บัตรภาพ ภาพชุด หรือแผนภูมินั้นให้เด็กดู เด็กจะเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ได้
ตัวอย่าง สื่อภาพ บัตรภาพ ภาพชุด และแผนภูมิ เช่น ภาพรุ้งกินน้ำ บัตรภาพแมลง
ภาพชุดดอกไม้ แผนภูมิส่วนประกอบของต้นไม้ ฯลฯ

4. หนังสือภาพ และหนังสือส่งเสริมการอ่าน
หนังสือภาพและหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องและภาพ เป็นสื่อสำหรับให้เด็ก
เรียนรู้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดหาได้ง่าย การใช้หนังสือภาพอาจทำได้ดังนี้
- จัดมุมหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยสามารถหยิบและเปิดขึ้นดูเอง ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็นในภาพ และโยงกับสิ่งที่ตนเห็นในชีวิตประจำวัน หนังสือภาพที่จะให้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ หนังสือภาพสัตว์เลี้ยง แม้เด็กปฐมวัยส่วนมากจะยังอ่านหนังสือไม่ได้ แต่ดการดูภาพก็จะช่วยให้ความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์แก่เด็กได้เป็นอย่างดี
- ใช้ประกอบการสอนของครู เป็นการใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่องนิทาน หรือการใช้แนวคิดทางธรรมชาติวิทยาแก่เด็กปฐมวัย หนังสือภาพที่ใช้อาจเป็นชุดเดียวที่จัดไว้ในมุมหนังสือ ครูจะช่วยอ่านบทสนทนาของตัวละครหรือคำบรรยายให้นักเรียนฟังเป็นการเพิ่มประสบการณ์แก่เด็กอีกทางหนึ่งด้วย
- ใช้ประกอบการแสดงออกของเด็กปฐมวัย ในกรณีที่เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ขวบ ครูอาจให้นักเรียนเล่าเรื่องจากหนังสือภาพให้เพื่อนนักเรียนฟังเป็นการกระตุ้นความสามารถในการแสดงออก และฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อที่จะนำมาเล่าให้เพื่อนฟัง ประกอบหนังสือภาพอีกด้วย
ตัวอย่างสื่อหนังสือภาพ และหนังสือส่งเสริมการอ่าน เช่น หนังสือภาพสัตว์เลี้ยง หนังสือนิทาน ฯลฯ
5. โสตทัศนุปกรณ์
อุปกรณ์เหล่านี้ใช้ได้เฉพาะโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านงบประมาณที่จะสามารถจัดหาเครื่องฉาย เครื่องเสียง วีดิทัศน์ ฯลฯ ได้ สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่มีความพร้อมด้านนี้ ก็อาจใช้สื่ออื่นทดแทนได้ อุปกรณ์เหล่านี้จะให้ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยในลักษณะต่าง ๆ อาทิ
- เครื่องเสียง ช่วยให้นักเรียนได้ยินเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงคนและสัตว์ เป็นต้น
- เครื่องฉายสไลด์ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพธรรมชาติต่าง ๆ ได้พร้อมกัน
- เครื่องฉายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ช่วยให้นักเรียนได้เห็นภาพการเคลื่อนไหว และได้ยินเสียงปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ
6. การสาธิตและการทดลองง่าย ๆ
การสาธิต และการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กปฐมวัยได้รู้จักสังเกต และคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอน และแสวงหาความรู้และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูสาธิตสิ่งที่ต้องการให้เด็กเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ ให้เด็กได้สังเกต ซักถาม และสรุป พร้อมกับให้เด็กมีโอกาสทดลองสิ่งที่ครูสาธิตหรือเรื่องที่เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง
ตัวอย่าง สื่อการสาธิตและการทดลองง่าย ๆ เช่น
- การเล่นบ่อทราย เด็กจะได้เรียนรู้จากการสัมผัสความนุ่มนวล ความสาก ฯลฯ ของทราย เรียนรู้ว่า เมื่อเป่าทรายจะกระจาย เมื่อเอาน้ำเทลงไปทรายจะจับตัวเป็นก้อน เรียนรู้ส่วนผสมของทราย รวมทั้งสังเกตชีวิตสัตว์เล็ก ๆ ที่อาจมองเห็นในทราย
- การเล่นน้ำ เด็กจะเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายอย่างจากการเล่นน้ำ ดังนั้นจึงต้องจัดอ่างน้ำและภาชนะให้เด็กได้มีโอกาสเล่นตัก ตวง เอามือแกว่งไกว วิดน้ำ หรือสังเกตสิ่งที่อยู่ในน้ำ เป็นต้น
- กรงแมลง การดักจับแมลงเป็นสิ่งที่เด็กชอบมาก ครูอาจสอนวิธีจับแมลงโดยการจับมาเพื่อการศึกษา สังเกต มิใช่การทำลายชีวิต แมลงที่เด็ก ๆ สนใจ เช่น แมลงเต่าทอง ผีเสื้อ ตั๊กแตน การจับควรจับด้วยสวิงดักแมลง เมื่อดักได้ให้ค่อย ๆ เก็บใส่กรงสำหรับแมลง ซึ่งหมายถึงบ้าน
ชั่วคราวของแมลง เมื่อสังเกตและศึกษาในระยะเวลาหนึ่งแล้วให้ปล่อยแมลงเหล่านั้นไป
กรงแมลงอาจทำจากกระป๋องพลาสติกที่ตัดหัวท้ายให้ยาวขนาด 2 นิ้ว แล้วหุ้มท้ายด้วยผ้าโปร่งบางมัดด้วยเชือกพลาสติก ส่วนด้านบนให้มีผ้าที่ปิดเปิดได้ อาจใส่ใบไม้หรือพืชต้นเล็ก ๆ ไว้ในขวด เพื่อให้แมลงรู้สึกว่าเหมือนอยู่ในธรรมชาติ
มดเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่เด็ก ๆ สนใจอยากรู้ ลองนำขวดปากกว้างมาตักทรายหรือดินที่มีรังมดอยู่ใส่ลงไปแล้วหุ้มรอบ ๆ ขวดด้วยผ้าหรือกระดาษสีดำ ใส่น้ำหวาน หรือเศษอาหารลงไปในขวด ปล่อยทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ถอดผ้าที่หุ้มออก จะเห็นมดในขวดกำลังสร้างอาณาจักรอยู่ภายในนั้น เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับเด็ก
- กรงสัตว์ กรงสัตว์สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ลังหรือกล่องบรรจุผลไม้นำมาหุ้มด้านบนด้วยลวด ส่วนด้านล่างรองด้วยถาดสังกะสี ลังนี้ทำเป็นบ้านกระต่ายหรือสัตว์เล็ก ๆ อื่น เช่น กระแต กระรอก หนู ลูกไก่ ฯลฯ อาจใส่ทรายชื้น ๆ และต้นไม้นุ่ม ๆ สำหรับเป็นกรงเลี้ยงกบหรือคางคกหรือกิ้งก่า ถ้าเป็นสัตว์บางอย่าง เช่น เต่า อาจจะต้องใส่ก้อนหินและน้ำ กรงสัตว์นี้เป็นบ้านชั่วคราวของสัตว์เพื่อให้เด็กได้สังเกต มิใช่เป็นกรงสำหรับขังสัตว์ เมื่อศึกษาแล้วให้ปล่อยสัตว์ไปอยู่ตามธรรมชาติ
ต่อไป
- ตาชั่ง สำหรับเด็ก ๆ แล้วตาชั่วที่ใช้เป็นเพียงตาชั่งสำหรับวัดความสมดุล คือ ตาชั่งสองแขน ซึ่งทำได้ง่าย ๆ โดยใช้แกนไม้ตั้งบนฐานแท่นไม้ ใช้ที่แขวนเสื้อชนิดทำด้วยไม้แขวนติดกับหมุดเล็ก ๆ ที่ปลายของไม้แขวนเสื้อห้อยด้วยกล่องนม เด็กจะใช้ชั่วของเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อดูความสมดุลหรือดูว่าอะไรหนักกว่าอะไร
- กระถางต้นไม้ เด็ก ๆ ชอบสะสมเมล็ดชนิดต่าง ๆ นอกจากการเก็บเมล็ดผลไม้ใส่กล่องไว้ให้เด็กได้สังเกตเรื่องของขนาด รูปร่าง และสีแล้ว เมล็ดเหล่านี้อาจจะนำมาทดลองเพาะ การเพาะลงในกระถางจะทำให้เด็กได้มีโอกาสสังเกตการเจริญของเมล็ดได้อย่างใกล้ชิด กระถางพืชนี้อาจจะเป็นกระถางดินหรือดัดแปลงมาจากวัสดุเหลือใช้ เช่น กระป๋องต่าง ๆ แก้ว เหยือก ภาชนะพลาสติกต่าง ๆ ถ้าเป็นที่เพาะเมล็ดพืชขนาดใหญ่อาจใช้ลังไม้รองด้วยอลูมิเนียม เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่เปียกออกมาด้านนอก
- กรงนก นอกจากจะมีการนำแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ชนิดต่าง ๆ มาให้เด็กได้ศึกษาในห้องเรียนแล้ว ครูสามารถที่จะนำนักเรียนออกไปศึกษาสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน เช่น ชีวิตนก ฉะนั้น อาจมีการทำกรงนกหรือบ้านนกชนิดต่าง ๆ ไว้ในบริเวณรอบนอกอาคาร ตามต้นไม้หรือชายคา บ้านนกอาจจะทำด้วยไม้ ทำด้วยกาบมะพร้าวทั้งลูกมัดด้วยลวดหรือรังนกกระจาบ มีอาหารนกไว้ให้สำหรับเด็กได้ใช้เลี้ยงนก
- กล่องวิทยาศาสตร์ ควรสะสมกล่องเปล่าสำหรับใส่ชุดวิทยาศาสตร์ อาจจะเป็นกล่องขนมปังที่เป็นโลหะหรือกล่องพลาสติก แต่ละกล่องจะบรรจุวัสดุสำหรับการทดลองแต่ละอย่าง เช่น กล่องที่จะทดลองเรื่องลอย-จม ในกล่องจะมีวัสดุสำหรับการทดลองในเรื่องดังกล่าว เช่น ลูกโป่ง ลูกแก้ว เศษไม้ ฟองน้ำ เม็ดโฟม หน้ากล่องเขียนชื่อติดไว้ เวลานำมาใช้จะได้สะดวกในการค้นหา นอกจากนี้ กล่องที่บรรจุวัสดุอุปกรณ์สำหรับสอนความคิดรวบยอดแต่ละเรื่องแล้ว อาจจะเป็นกล่องที่บรรจุเครื่องมือที่ใช้บ่อย ๆ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก กระจกเงา ลวด เปลือกหอย เข็มทิศ นาฬิกา ฯลฯ
- การปรุงอาหาร กิจกรรมการปรุงอาหาร เป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กายภาพ เพราะเด็กจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารได้ง่าย เช่น การละลาย การทำให้อ่อนตัว การเปลี่ยนรูปทรงและสีอาหาร ไม่จำเป็นจะต้องปรุงให้สุกเพียงการผสมเครื่องปรุงก็เป็นประสบการณ์การเรียนรู้อย่างหนึ่ง


7. นิทาน
การเล่านิทานเป็นการเล่าเรื่องต่าง ๆ โดยการใช้หนังสือภาพ หนังสือนิทาน หุ่นต่าง ๆ
หรือแสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่อง โดยครูเลือกนิทานที่เหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความต้องการของเด็ก เล่าให้เด็กฟังโดยอ่านจากหนังสือ หรือใช้อุปกรณ์ประกอบ พร้อมกับให้เด็กได้สนทนา อภิปราย และแสดงความคิดเห็นจากนิทาน
ตัวอย่าง สื่อนิทาน เช่น นิทานเรื่องประโยชน์ของผัก
มีเด็กนักเรียนห้องหนึ่งกินผักกันทั้งห้อง ทุกคนแข็งแรงมาก และก็มีเด็กนักเรียนอีก
ห้องหนึ่งไม่กินผักเลย ทุกคนอ่อนแอมาก วันหนึ่งนักเรียนต้องแข่งขันเดินเร็วกัน นักเรียนห้องที่กินผักเดินชนะ เพราะแข็งแรง เดินไม่เหนื่อย ส่วนนักเรียนห้องที่ไม่กินผักเดินไปได้หน่อยก็เป็นลมล้มลงจึงแพ้

8. เพลง
การร้องเพลง เป็นการจัดให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และ
เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและจังหวะ โดยให้เด็กฟังและร้องเพลงไปพร้อม ๆ กับครู เพลงที่นำมาให้เด็กร้อง ควรเลือกเนื้อเพลงง่าย ๆ และสั้น และควรให้เด็กได้เคลื่อนไหวท่าทางประกอบการร้องเพลง เปิดโอกาสให้เด็กแสดงท่าทางประกอบอย่างอิสระตามจินตนาการ
ตัวอย่าง สื่อเพลง เช่น เพลงรุ้งกินน้ำ
รุ้งเลื่อมลายงามงดงาม สีม่วงครามอีกงามน้ำเงิน
เขียวเหลืองเพลินดูน่าชม ช่างงามสมสีส้มแดง
9. เกม
การเล่นเกม เป็นการให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เด็กได้เคลื่อนไหว
ร่างกายส่วนต่าง ๆ เล่นและอยู่ร่วมกับเด็กอื่นได้ โดยเล่นเกมที่มีกติกาง่าย ๆ หรือเกมการละเล่นพื้นเมืองที่เหมาะกับวัย ก่อนเล่นครูต้องอธิบายกติกาและสาธิตให้เข้าใจ
ตัวอย่าง สื่อเกม เช่น เกมแมวจับหนู
วิธีเล่น - ให้เด็กนั่งเป็นวงกลม จับมือกัน
- ให้เด็กออกมา 2 คน คนหนึ่งสมมติเป็นแมว อีกคนหนึ่งสมมติเป็นหนู
- สมมติให้คนที่นั่งเป็นถ้วยที่เก็บน้ำมันหมู
- ให้เด็กคนที่เป็นแมวไปหาน้ำมันหมู
- ให้เด็กคนที่เป็นหนูไปกินน้ำมันหมู
- เด็กคนที่เป็นแมวถามเด็กคนที่นั่งเป็นวงกลมว่าน้ำมันหมูหายไปไหน
- เด็กคนที่นั่งทั้งหมดตอบว่าหนูกินหมด
- เด็กคนที่เป็นแมวถามว่า หนูหายไปไหน
- เด็กคนที่นั่งทั้งหมดชี้ไปที่ตัวหนู
- เด็กคนที่เป็นแมววิ่งไล่ตามหนู ถ้าวิ่งจับหนูได้ถือว่าจบเกม และผลัด
เปลี่ยนคนใหม่ต่อไป

10. คำคล้องจอง
การท่องคำคล้องจอง เป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาในการฟัง พูด เด็กได้รับคาม
เพลิดเพลิน สนุกสนาน โดยให้เด็กฟังและท่องคำคล้องจองไปพร้อม ๆ กับครู คำคล้องจองที่นำมาให้เด็กท่องจำควรเลือกคำคล้องจองที่ง่าย ๆ และสั้น ควรให้เด็กได้เคลื่อนไหวท่าทางประกอบการท่องคำคล้องจอง เปิดโอกาสให้เด็กแสดงท่าทางประกอบอย่างอิสระตามจินตนาการ
ตัวอย่าง สื่อคำคล้องจอง เช่น คำคล้องจอง ประโยชน์ของดิน หิน ทราย
ดิน หิน ทราย ใช้ในการก่อสร้าง เป็นห้างร้านบ้านเรือนที่อาศัย
ทำถนนโรงเรียนวัดทั่วไทย ทำของใช้ปลูกต้นไม้ได้ดีเอย
นอกจากวัสดุดังกล่าวข้างต้น ยังมีวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถจัดหาเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากนี้ได้ แล้วแต่ความสามารถของโรงเรียน เช่น กล้องจุลทรรศน์ หนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์ ลูกโลกและตัวอย่างหินแร่ต่าง ๆ และครูวิทยาศาสตร์ควรสำรวจและบันทึกรายการเหล่านี้ไว้ด้วย คือ แหล่งทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งทรัพยากรบุคคลและสถานที่ที่จะนำมาให้เด็กได้เรียนรู้ ทรัพยากรบุคคล อาทิเช่น เจ้าหน้าที่เกษตร, อนามัย, บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่วนอุทยาน เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ เจ้าหน้าที่จากสมาคมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์ นักกีฏวิทยา เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เกษตรกร เจ้าของฟาร์มสัตว์ต่าง ๆ ส่วนสถานที่ที่น่าสนใจ อาทิเช่น สวนสัตว์ วนอุทยาน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ นอกจากนี้อาจจะมีการร่วมมือกับโรงเรียนมัธยม หรืออุดมศึกษาในท้องถิ่น ที่จะขอนักเรียนระดับโตมาควบคุมและทำงานด้านวิทยาศาสตร์กับเด็กทั้งในและนอกห้องเรียน

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 2 กันยายน 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 2 กันยายน 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
-ไม่มีการเรียนการสอนภายในห้องเรียนเนื่องจากทางสาขาวิขาได้จัดงานเกษียณให้แก่ อาจารยื ประจำสาขา
ความรู้เพิ่มเติม
1.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
การกำหนดตัวแปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
ในสมมติฐานหนึ่ง ๆ การควบคุมตัวแปร เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุม ให้เหมือนๆ กัน ก็จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เราต้องจัดให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดผล ซึ่งเราคาดหวังว่าจะแตกต่างกัน ตัว
แปรตาม คือ สิ่งที่เราต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่าง ให้แตกต่างกัน
ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่เราต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลอง เกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น

2.ทักษะการคำนวณ คือ การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้ มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย
3.ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล เป็นการนำผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่งต่าง ๆ โดยการหาความถี่ เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย ของข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย
4.ทักษะการจำแนกประเภท คือ การแบ่งพวก หรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ โดยใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะทำการทดสองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือ ทฤษฎีมาก่อน สมมติฐาน หรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้า มักกล่าวไว้เป็นข้อความ ที่บอก ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูก หรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลัง การทดลอง หาคำตอบเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้
6.ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป การตีความหมายข้อมูล คือ การแปรความหมาย หรือ การบรรยาย ลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลงข้อสรุป คือ การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด
7.ทักษะการทดลอง มี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่ม เปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่ม เปรียบเทียบและลองผิดลองถูก การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือการทดสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลอง
8.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไว้
9.ทักษะการพยากรณ์ คือ การสรุปคำตอบล่วงหน้า ก่อนการทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น มาช่วยในการสรุป การพยากรณ์มีสองทาง คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และ การพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่
10.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือ การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
11.ทักษะการวัด คือ การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ
12.ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น ส่วนตัวลงไป
13.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา วัตถุต่าง ๆ ในโลกนี้ จะทรงตัวอยู่ได้ ล้วนแต่ครองที่ที่ว่าง การครอง ที่ของวัตถุในที่ว่างนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมี 2 มิติ ได้แก่ มิติยาว มิติกว้าง และมิติสูงหรือหนา

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 22 กรกฎาคม 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 22 กรกฎาคม 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
     เนื่องจากในวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัรอาสาฬหบูชา ทางมหาวิทยาลัยจึงไม่มีการเรียนการสอน
ความรู้เพิ่มเติม
     หาความรู้เพิ่มเติมนอกชั้นเรียน เรื่อง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำนำแสง
น้ำนำแสง
รู้จักเส้นใยแก้วนำแสงไหม?
เส้นใยแก้วเป็นเส้นใยที่ทำจากแก้วบริสุทธิ์และส่งสัญญาณแสงได้ เมื่อส่องแสงไปที่ปลายของเส้นใยแก้วนำแสง แสงจะสามารถเดินทางภายในเส้นใยแก้วและถูกส่งออกมาอีกด้านหนึ่งได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของแสงกับวัสดุ ประโยชน์ที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันคือการส่งข้อมูลได้จำนวนมาก เช่นสายอินเทอร์เน็ต นอกจากวัสดุที่เป็นแก้วแล้ว แสงยังสามารถเดินทางในน้ำเปล่า ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์เดียวกัน เรามาทำการทดลองเพื่อเรียนรู้หลักการการสะท้อนของแสงระหว่างพื้นผิวของวัสดุโปร่งแสง 2 ชนิด

     อุปกรณ์
     1. ไฟฉาย
     2. ขวดน้ำพลาสติกใส
     3. น้ำเปล่า
     4. กรรไกรหรือสิ่งที่เจาะรูกลมได้
วิธีทดลอง
     1. เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตรบริเวณใกล้กับฐานขวด
     2. จากนั้นใช้นิ้วอุดรูไว้ และเติมน้ำให้สูงกว่ารู
     3. ใช้ไฟฉายส่องด้านหลังขวดบริเวณตรงข้ามกับรู
     4. เอานิ้วออกจากรูและใช้มืออีกข้างรับน้ำที่ไหลออกมาจากรู
     5. สังเกตบริเวณปลายสุดของน้ำที่ไหลออกมา
      จากการทดลอง เมื่อเราส่องแสงไปในน้ำ แสงสามารถเดินทางมาตามลำน้ำได้จนถึงปลายทางของน้ำ ตามหลักการวิทยาศาสตร์กล่าวว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แต่ในการทดลองนี้ ถึงแม้ว่าสายน้ำจะโค้งแต่แสงก็เดินทางมาตามน้ำมาได้ เพราะเหตุใดแสงจึงเดินทางตามน้ำที่โค้งได้?
จริงๆ แล้วแสงยังเดินทางเป็นเส้นตรงจากอากาศ และสะท้อนออกมาเป็นเส้นตรงเมื่อตกบนพื้นผิว เช่นน้ำ ซึ่งบางส่วนของแสงจะสะท้อนกลับ และเนื่องจากน้ำโปร่งแสง แสงบางส่วนจึงสามารถเดินทางผ่านจากอากาศไปในน้ำได้ ในทางกลับกัน แสงที่เปล่งในน้ำสามารถเดินทางผ่านน้ำไปสู่อากาศได้ ดังลำแสงเส้นสีเขียวในรูปภาพนี้ (ลองทำการทดลอง “ลำแสงหักเห” จากเว็บไซต์ อพวช. หน้า “การทดลองวิทยาศาสตร์”)

      เมื่อแสงตกลงที่พื้นผิวระหว่างตัวกลางทั้งสอง ทำมุมเท่ากับหรือมากกว่า มุม θ ดั่งลำแสงสีแดงในรูปนี้ แสงทั้งหมดจะสะท้อนกลับเข้าตัวกลางเดิม ไม่สามารถผ่านพื้นผิวระหว่างสองตัวกลางได้ มุม θ หรือเรียกว่า มุมวิกฤตของแต่ละตัวกลางจะแตกต่างกัน ซึ่งปรากฏการณ์นี้คือการสะท้อนกลับหมด แสงในใยแก้วนำแสงและลำน้ำจึงสามารถสะท้อนกับพื้นผิวและเดินทางผ่านตัวกลางที่โค้งอยู่ และเปล่งออกมาอีกด้านหนึ่งได้

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 15 กรกฎาคม 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 15 กรกฎาคม 2556
เนื้อหาการเรียนการสอน
     - หลักการในการเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่เด็กสามารถทำได้
     - การทำให้เด็กเกิดความสนใจ
     - การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการใช้ของเล่นทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมการเรียนการสอน
     1. อภิปรายร่วมกันระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ผู้สอนเรื่องการเลือกกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ชนิดไหนที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้ดีที่สุด
     2. นักศึกษานำเสนอผลงานเรื่อง การจัดกิจดรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ของเล่น
ความรู้เพิ่มเติม
     1. วิธีเลือกของเล่นให้เด็ก

ในวัยเด็กเป็นช่วงวัยที่สำคัญต่อการมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ดังนั้นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่เร็งขึ้นคงหนีไม่พ้น ของเล่น ที่เด็กทุกคนหรือพ่อแม่ทั้งหลายได้เลือกมาให้ลูกๆ
     การเลือกของเล่นเด็ก เสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
หลักของการเลือกของเล่นที่มีผลต่อการเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในวัยเด็ก ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม เนื่องด้วยในวัยเด็กนี้จะเป็นวัยที่มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ หากเราได้หาสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเขาแล้ว เด็กก็จะเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสติปัญญาได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น.
     การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา ในขณะที่ผู้ผลิตของเล่นต่างแข่งขันผลิตออกมาขายจำนวนมาก บางครั้งผู้บริโภคไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้แต่คำอธิบายจากตัวสินค้าก็ไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจ ทำให้บางคนซื้อของเล่นให้ลูกเพราะคิดว่ามันน่าจะดีเท่านั้น
     การเลือกของเล่นที่ดีเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตามศักยภาพของเด็ก จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากของเล่นเป็นสื่อกลางช่วยเปิดโลกภายในของเด็กออกสู่ภายนอก ทำให้เด็กได้ค้นพบความสามารถหรือความถนัดของตนเองด้วยตนเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น ทว่าการเล่นของเล่นจะปราศจากความหมาย หากเด็กไม่ได้รับความสนใจเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดในการดูแลเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนการชี้แนะหรือเล่นร่วมกับเด็กเมื่อเด็กต้องการ
     รศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า ช่วงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งนี้ การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม
     รศ.ดร.จิตตินันท์ บอกว่า เด็กปฐมวัยจะมีความสุขสนุกสนานกับการเล่นในชีวิตประจำวันตามความสนใจและความพอใจของตนเอง ขณะที่เล่นนั้นเด็กได้ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการสำรวจคุณสมบัติของสิ่งที่เล่น ไม่ว่าจะเป็นคนที่เล่นด้วยหรือวัตถุสิ่งของหรือของเล่น พร้อม ๆ ไปกับการรับรู้สิ่งที่เล่นผ่านอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการทำงานของสมองในการจดจำเป็นข้อมูลความคิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้น
     "เด็กจะค่อยๆซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนเล่นหรือของเล่น โดยเฉพาะเมื่อเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองและมีผู้คอยชี้แนะให้ข้อมูลหรือสอนให้รู้จักคำบอกของชื่อเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว หรือความหมายของสิ่งเหล่านั้นทีละเล็กละน้อย จากเรื่องที่ง่ายๆไปสู่เรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ตามความสามารถของวัย"
     การเล่นและของเล่นสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็กอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่น ถือเป็นรากฐาน (foundation) ที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อๆมา เด็กที่ขาดโอกาสในการเล่น หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการเล่น ย่อมมีโอกาสที่จะประสบปัญหาในการเรียนรู้และมีพัฒนาการล่าช้าได้
รศ.ดร.จิตตินันท์ แนะนำหลักการเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างง่ายๆ 4 ข้อคือ
1. ต้องดูที่ความปลอดภัยในการเล่น ของเล่นอาจทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะ ที่ไม่มีอันตรายเกี่ยวกับผิวสัมผัสที่แหลมคมหรือมีชิ้นส่วนที่หลุดหรือแตกหักง่าย ตลอดจนทำด้วยวัสดุที่ไม่มีพิษมีภัยต่อเด็ก
2.ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นที่ดีควรช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้อยากรู้อยากเห็น มีสีสันสวยงามสะดุดตาเด็ก มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการ ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว
3.ประสิทธิภาพในการใช้เล่น ควรมีความยากง่ายเหมาะกับระดับอายุและความสามารถตามพัฒนาการของเด็ก ของเล่นที่ยากเกินไปจะบั่นทอนความสนใจในการเล่นของเด็กและทำให้เด็กรู้สึกท้อถอยได้ง่าย ส่วนของเล่นที่ง่ายเกินไปก็ทำให้เด็กเบื่อไม่อยากเล่นได้ และ
4.ความประหยัดทรัพยากร ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- ของเล่นที่ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวและการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนามประเภท เสาชิงช้า ราวโหน ไม้ลื่น ไม้กระดาน อุโมง บ่อทราย เครื่องเล่นที่มีล้อเลื่อนได้ เป็นต้น
- ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ เช่น ของเล่นประเภทบีบ ตี เขย่า สั่น หมุน บิด ดึง โยน ผลัก เลื่อน เป็นต้น
- ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน เช่น ของเล่นประเภทตอก กด ตี ปัก เย็บ ผูก กระดานปักหมุด ผูกเชือก ผูกโบว์ กรอกน้ำใส่ขวด เป็นต้น ของเล่นที่พัฒนาทักษะทางภาษา เช่น ภาพสัตว์ ผลไม้ ตัวพยัญชนะ เทปเพลง เป็นต้น
- ของเล่นที่ฝึกการสังเกต เช่น โดมิโน กระดานต่อภาพ กล่องหยอดบล็อกต่าง ๆ เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกทักษะการแก้ปัญหาและใช้สมาธิ เช่น ภาพตัดต่อ ของเล่นชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นสิ่งต่าง ๆ เกมค้นหาชิ้นส่วนที่หายไป เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 8 กรกฎาคม 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 8 กรกฎาคม 2556
เนื้อกาหารเรียนการสอน
- เรียนเรื่อง "การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ"
- การพัฒนากระบวรการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
     1. นักศึกษาชมวีดีโอเรื่อง "น้ำมหัศจรรย์" สามารถสรุปความรู้ได้ดังนี้
     1.1สถานะของน้ำ
     - ของแข็ง
     - ของเหลว
     - ก็าซ
     2. น้ำเป็นองค์ประกอบของทุกสิ่ง
     - ร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 70 เปอร์เซ็นต์
     - ผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 90 เปอร์เซ็นต์
     - ร่างกายสามารถขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน
     - อูฐสามารถขาดน้ำได้ไม่เกิน 10 วัน
     - ร่างกายของคนเราควรดื้มน้ำได้อย่างน้อย 7 แก้วต่อวัน
ความรู้เพิ่มเติม
     1.แหล่งของน้ำ
     น้ำเป็นสารประกอบเคมีที่มีมากที่สุดในโลก ประมาณ ¾ ของโลก ประกอบด้วยน้ำ พื้นน้ำมีมากกว่าพื้นดิน ร่างกายมีน้ำ 50-70% ของน้ำหนักร่างกาย อาหารที่รับประทานมีน้ำประกอบอยู่ด้วยไม่มีมากก็น้อย เช่น ก๋วยเตี๋ยวสุกมีน้ำ 76% ข้าว 11% กระหล่ำดอก 91% แตงโม 92.2% เนื้อหมูติดมันมีน้ำ 42% ปูทะเล 80% นมวัว 88.3% ผงโกโก้มีน้ำ 3.1% เป็นต้น
     2.ประโยชน์ของน้ำ
น้ำมีความจำเป็นรองจากออกซิเจน มนุษย์สามารุมีชีวิตอยู่ไปเป็นอาทิตย์โดยไม่รับอาหาร แต่ความตายจะตามมาหากร่างกายไม่ได้รับน้ำเพียงไม่กี่วัน การที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากๆ เช่น เวลาท้องเสียหรือท้องร่วงจะทำให้เกิด dehydration ขึ้นในร่างกาย หากร่างกายสูญเสียน้ำไป 10% จะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงและความตายจะตามมา หากร่างกายสูญเสียน้ำไป 20% น้ำในร่างกายช่วยในการย่อยอาหาร การขับถ่ายของเสีย การหมุนเวียนของสารในร่างกาย ช่วยในการรักษาความเป็นกรด-ด่างและอุณหภูมิในร่างกาย ร่างกายได้รับน้ำจากอาหารแห้งและอาหารเหลวและน้ำ โดยได้รับทั้งจากภายนอกร่างกายและภายในร่างกาย ขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารอาหารในร่างกายจะมีน้ำเกิดขึ้นด้วย น้ำในร่างกายจะสูญเสียไปทางเหงื่อ การหายใจ ปัสสาวะ และอุจจาระ
คุณสมบัติของน้ำทางกายภาพ (Physical properties)
น้ำบริสุทธิ์ไม่มีสี กลิ่น รส แข็งตัวที่ 0 oC (32 oF) และเดือดที่ 100 oC (212 oF)
น้ำจะมีความหนาแน่นมากที่สุด (Maximum density) ที่ 4 oC ความหนาแน่นจะน้อยลงเมื่ออุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่านี้ เมื่อเวลาน้ำแข็งตัว (0 oC) จะมีความหนาแน่นน้อยลง ทำให้น้ำแข็งลอยตัวได้และพบว่าปริมาตรเพิ่มขึ้นเกือบ 1/10 เมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง
จาก ความหนาแน่น = น้ำหนัก
ปริมาตร
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้เองเป็นเหตุที่ทำให้ท่อน้ำแตกหรือร้าวได้ เมื่ออากาศหนาวจนน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง ได้มีการใช้ antifreeze ใส่ในหม้อน้ำรถยนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง
     3.คุณสมบัติของน้ำทางเคมี (Chemical properties)
     3.1 Stability น้ำเป็นสารประกอบที่มีความทนทานที่สุดชนิดหนึ่ง ไม่สลายตัวง่ายๆ ด้วยความร้อน เมือน้ำถูกความร้อนที่ 100 oC ที่ความดัน 1 บรรยากาศ น้ำจะเดือดและกลายเป็นไอ ถึงแม้ว่าไอน้ำจะถูกควมร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่านี้อีกก็จะไม่มีการสลายตัว โมเลกุลของน้ำมีความคงทนมาก พบว่ามีการสลายตัวของโมเลกุลของน้ำน้อยมากถึงแม้ว่าจะได้รับอุณหภูมิถึง 1,600 oC
     3.2 Electrolysis น้ำจะสลายตัวได้ง่ายด้วยกระแสไฟฟ้า โดยจะเกิดการสลายตัวได้ gas hydrogen 2 ปริมาตร และ gas oxygen 1 ปริมาตร

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 1 กรกฏาคม 2556

เนื้อหาการเรียนการสอน
- เรียนเรื่อง "การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแสง"
- ขั้นของการพัฒนาทางสติปัญญา
- แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. นักศึกษาชมวีดีโอเรื่อง "ความลับของแสง" ซี่งสามารถสรุปได้ดังนี้
     1.1 แสง คือ คลื่นระยะสั้น เดินทางด้วยความเร็ว 300,000 km/s
     1.2 คุณสมบัติของแสง
     - แสงเดินทางเป็นเส้นตรง 
     - วัตถุที่แสงไม่สามารถเดินทางผ่านได้คือ วัตถุประเภท วัตถุทึบแสง
     - วัตถุที่แสงสามารถเดินทางผ่านได้คือ วัตถุประเภท วัตถุโปร่งแสง และ วัตถุโปร่งใส
เพิ่มเติม : วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงเดินทางผ่านได้น้อย เช่น กระจกฝ้า
            วัตถุโปร่งใส คือ วัตถุที่ยอมให้แสงเดินทางผ่านได้มาก เช่น พสาลติกใส กระจกใส เป็นต้น
     - แสงกำเนิดจากสีทั้งหมด 7 สี เป็นส่วนประกอบ ดังนี้ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสรด แดง
     1.3 ประโยชน์ของแสง
     - สามารถนำไปประดิษฐ์สร้างเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่ออำนวยความสพดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การสร้องถ่ายภาพ  กล้องรูเข็ม เป็นต้น
2. องค์ประกอบทางวิทยาศาสตร์ มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้
     2.1 ความหมาย
     2.2 ความสำคะญ
     2.3 กระบวนการเรียนรู้
     2.4 แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
     2.5 พัฒนาการทางสติปัญญา
     2.6 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. ขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญา
     3.1 ขั้นประสาทสัมผัส แรกเกิด - 2 ปี
     3.2 ขั้นปฏิบัตืการ 2 - 6 ปี
เพิ่มเติม : การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดจากการที่เส้นใยวมองเชื่อมค่อกันพัฒนาได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
4. การทดลองที่เกี่ยวข้องกับแสง
     4.1 การทดลองเรื่องจานสีหมุนได้
     - วัสดุอุปกรณ์
     - กระดาษแข็งสีขาว
     - กรรไกร
     - ดินสอสี สีน้ำเงิน แดง เขียว
     - เชือก
     - เข็ม
    
4.2 ขั้นตอนการทดลอง
     1 ใช้วงเวียนวาดรูปวงกลมรัศมี 3 เซนติเมตรลงบนกระดาษแข็ง

     2 ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามลอยดินสอ
     3 แบ่งวงกลมเป็นสามส่วนเท่าๆกัน
     4 ใช้สีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินละบายลงบนช่องในวงกลมสีละช่อง
     5 ใช้เข็มเจาะรู 2 รูใกล้ๆกับจุดศูนย์กลางของวงกลม
     6 ตัดเชือกออกมาประมาณ 60 เซนติเมตร ร้อยเชือกผ่านรูทั้ง 2 แล้วจึงมัดปลายเชือกเข้าด้วยกันและปรับเชือกให้เป็นวงขนาดพอๆกันทั้ง 2 ด้าน
     7 ดึงเชือกที่ปลายทั้งสองข้าง แล้วหย่อนเชือกลงเล็กน้อยเพื่อให้เกิดการหมุน ค่อยๆดึงเชือกเข้าออกสลับกันอย่างช้าๆ ในการดึงแต่ละครั้งให้เพิ่มแรงขึ้นทีละน้อยๆจนกระทั่งกระดาษสามารถหมุนไปมาได้
     8 เมื่อกระดาษหมุนไปได้แล้ว ให้เรามองดูด้านที่มีสี เรายังสามารถแยกสีต่างๆออกจากกันได้หรือไม่ เกิดอะไรเมื่อกระดาษหมุนเร็วขึ้น ดังภาพ
     4.3 คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์     เมื่อแผ่นกระดาษหมุน ดวงตาของเราจะเห็นสี แดง ฟ้า เขียว ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อแผ่นกระดาษหมุนเร็วพอ สมองของเราจะไม่สามารถที่จะแยกสีเหล่านั้นออกจากันได้ เราจึงเห็นสีเหล่านั้นผสมเข้าด้วยกันซึ่งทำให้เกิดสีขาว(หรือออกสีเทาจางๆ)
ความรู้เพิ่มเติม
     1. พฤติกรรมต่าง ๆ ของแสง
     1.1 การสะท้อน (Reflection) เป็นพฤติกรรมที่แสงตกกระทบบนตัวกลางและสะท้อนตัวออก ถ้าตัวกลางเป็นวัตถุผิวเรียบขัดมัน จะทำให้มุมของแสงที่ตกกระทบจะมีค่าเท่ากับมุมสะท้อน
     1.2 การหักเห (Refraction) เป็นพฤติกรรมที่ลำแสงหักเหออกจากแนวทางเดินของมัน เมื่อพุ่งผ่านวัตถุโปร่งแสง
     1.3 การกระจาย (Diffusion) เป็นพฤติกรรมที่แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคม เพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ
     1.4 การดูดกลืน (Absorbtion) เป็นพฤติกรรมที่แสงถูกดูดกลืนหลายเข้าไปในตัวกลาง โดยทั่วไปเมื่อพลังงานแสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในวัตถุใด ๆ มันจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
     1.5 การทะลุผ่าน (Transmission) เป็นพฤติกรรมที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง
     1.6 การส่องสว่าง (Illumination) ปริมาณแห่งการส่องสว่างบนพื้นผิวใด ๆ จะแปรตามโดยตรงกับความเข้มแห่งการส่องสว่าง (Illumination Intensity) ของแหล่งกำเนิดแสงและแปรตามอย่างผกผันกับค่าระยะทางยกกำลังส่องระหว่างพื้นผิวนั้นกับแหล่งกำเนิดแสง
     1.7 ความจ้า (Brighten) ความจ้าเป็นผลซึ่งเกิดจากการที่แสงถูกสะท้อนออกจากผิววัตถุ หรือพุ่งออกจากแหล่งกำเนิดแสงเข้าสู่ตา

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอนวันที่ 24 มิถุนายน 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอนวันที่ 24 มิถุนายน 2556
        อาจารย์ผู้สอนใก้นักศึกษาแลพสรุปควารู้จากการชม วีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
พร้อมให้นักศึกษาจดบะนทึกลงในใบงาน
- ความรู้ที่ได้รับ
ดันอากาศ คือแรงที่อากาศกระทำต่อวัตถุในทิศทางตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่หมายถึงพื้นที่ที่ใดที่หนึ่ง มีหน่วยเป็นนิวตั้นต่อตารางเมตร มีการนำแรงดันอากาศไปใช้ประโยชน์ดังนี้
- หลอดฉีดยา
- ลูกยางดูดกระจก
- ปากหมึกซึม
- ขวดแรงดัน
- กาลักน้ำ
อากาศมีสถานะเป็นก๊าซ แต่อากาศก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว เราเรียกน้ำหนักซึ่งกดทับกันลงมานี้ว่า “ความกดอากาศ” (Air pressure) ความกดอากาศจะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับตรงที่ความกดอากาศมีแรงดันอากาศทุกทิศทาง เช่นเดียวกับแรงดันอากาศในลูกโป่ง เมื่ออากาศเย็นซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ ในทางกลับกันหากอากาศร้อนก็จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์ นักอุตุนิยมวิทยาใช้เครื่องมือ "บารอมิเตอร์" อย่างละเอียดสำหรับวัดความกดอากาศ หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศนั้นอาจจะเป็นความสูงของปรอทเป็นนิ้วหรือเซนติเมตร ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรก็ได้ แต่ในปัจจุบันส่วนมากนิยมใช้หน่วยเป็นมิลลิบาร์ (millibar) เพราะเป็นหน่วยที่สะดวกกว่า

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วีนที่ 17 มิถุนายน 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วีนที่ 17 มิถุนายน 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
- อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษากาความรู้เพิ่มเติมและรวบรวมจากการทำบล็อก
ความรู้จากการทำบล็ิอกรวบรวมวามรู้ทางวิทยาศาสตร์
คู่มือการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เล่ม 1
 
กิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อกิจกรรม: ความลับของสี
จุดประสงค์
1.เพื่อฝึกการสังเกต
2.เพื่อฝึกการลงความเห็น
3.เพื่อฝึกการจำแนกเปรียบเทียบ

อุปกรณ์ : (ซึ่งคุณครูเป็นผู้จัดเตรียม)
1. สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน, น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
2. กระดาษกรองกาแฟ ,กรองตะกอนน้ำมัน
3. แก้วใส่น้ำ
วิธีการทำกิจกรรม
1. ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
2. ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
3. จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำเพราะสีจะลายลายลงน้ำ
4. รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง แล้วเห็นสีอะไรบ้าง
5. นำกระดาษไปหนีบผึ่งลมไว้ แล้วทดลองสีต่อไป


ผึ่งลมไว้ แล้วสังเกตสีที่เกิดขึ้น

เพราะอะไรจึงเกิดขึ้น
สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากันทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) เป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี
ประเมินผล
ครูสังเกตและบันทึกว่า
1.เด็กสามารถทำกิจกรรมตามที่ครูแนะนำได้หรือไม่
2.เด็กสามารถสังเกตและบอกสิ่งที่ได้สังเกตจากการทดลองเรื่อง "ความลับของสี" ได้หรือไม่
3. เด็กสามารถตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นหลังจากทำกิจกรรม "ความลับของสี" ได้หรือไม่
4.เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วยความสนใจ และมีทักษะต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามจุดประสงค์หรือไม่
ผลที่เด็กได้รับ

1. เด็กจะได้เรียนรู้ถึงทักษะการสังเกต จากการทดลอง
2.เด็กจะได้เรียนรู้ถึงทักษะการจำแนกประเภท จากการจำแนกสีที่เกิดขึ้น
3.เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องทักษะการลงความเห็น