วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 1 กรกฏาคม 2556

เนื้อหาการเรียนการสอน
- เรียนเรื่อง "การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแสง"
- ขั้นของการพัฒนาทางสติปัญญา
- แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. นักศึกษาชมวีดีโอเรื่อง "ความลับของแสง" ซี่งสามารถสรุปได้ดังนี้
     1.1 แสง คือ คลื่นระยะสั้น เดินทางด้วยความเร็ว 300,000 km/s
     1.2 คุณสมบัติของแสง
     - แสงเดินทางเป็นเส้นตรง 
     - วัตถุที่แสงไม่สามารถเดินทางผ่านได้คือ วัตถุประเภท วัตถุทึบแสง
     - วัตถุที่แสงสามารถเดินทางผ่านได้คือ วัตถุประเภท วัตถุโปร่งแสง และ วัตถุโปร่งใส
เพิ่มเติม : วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงเดินทางผ่านได้น้อย เช่น กระจกฝ้า
            วัตถุโปร่งใส คือ วัตถุที่ยอมให้แสงเดินทางผ่านได้มาก เช่น พสาลติกใส กระจกใส เป็นต้น
     - แสงกำเนิดจากสีทั้งหมด 7 สี เป็นส่วนประกอบ ดังนี้ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสรด แดง
     1.3 ประโยชน์ของแสง
     - สามารถนำไปประดิษฐ์สร้างเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่ออำนวยความสพดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การสร้องถ่ายภาพ  กล้องรูเข็ม เป็นต้น
2. องค์ประกอบทางวิทยาศาสตร์ มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้
     2.1 ความหมาย
     2.2 ความสำคะญ
     2.3 กระบวนการเรียนรู้
     2.4 แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
     2.5 พัฒนาการทางสติปัญญา
     2.6 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. ขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญา
     3.1 ขั้นประสาทสัมผัส แรกเกิด - 2 ปี
     3.2 ขั้นปฏิบัตืการ 2 - 6 ปี
เพิ่มเติม : การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดจากการที่เส้นใยวมองเชื่อมค่อกันพัฒนาได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
4. การทดลองที่เกี่ยวข้องกับแสง
     4.1 การทดลองเรื่องจานสีหมุนได้
     - วัสดุอุปกรณ์
     - กระดาษแข็งสีขาว
     - กรรไกร
     - ดินสอสี สีน้ำเงิน แดง เขียว
     - เชือก
     - เข็ม
    
4.2 ขั้นตอนการทดลอง
     1 ใช้วงเวียนวาดรูปวงกลมรัศมี 3 เซนติเมตรลงบนกระดาษแข็ง

     2 ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามลอยดินสอ
     3 แบ่งวงกลมเป็นสามส่วนเท่าๆกัน
     4 ใช้สีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินละบายลงบนช่องในวงกลมสีละช่อง
     5 ใช้เข็มเจาะรู 2 รูใกล้ๆกับจุดศูนย์กลางของวงกลม
     6 ตัดเชือกออกมาประมาณ 60 เซนติเมตร ร้อยเชือกผ่านรูทั้ง 2 แล้วจึงมัดปลายเชือกเข้าด้วยกันและปรับเชือกให้เป็นวงขนาดพอๆกันทั้ง 2 ด้าน
     7 ดึงเชือกที่ปลายทั้งสองข้าง แล้วหย่อนเชือกลงเล็กน้อยเพื่อให้เกิดการหมุน ค่อยๆดึงเชือกเข้าออกสลับกันอย่างช้าๆ ในการดึงแต่ละครั้งให้เพิ่มแรงขึ้นทีละน้อยๆจนกระทั่งกระดาษสามารถหมุนไปมาได้
     8 เมื่อกระดาษหมุนไปได้แล้ว ให้เรามองดูด้านที่มีสี เรายังสามารถแยกสีต่างๆออกจากกันได้หรือไม่ เกิดอะไรเมื่อกระดาษหมุนเร็วขึ้น ดังภาพ
     4.3 คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์     เมื่อแผ่นกระดาษหมุน ดวงตาของเราจะเห็นสี แดง ฟ้า เขียว ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อแผ่นกระดาษหมุนเร็วพอ สมองของเราจะไม่สามารถที่จะแยกสีเหล่านั้นออกจากันได้ เราจึงเห็นสีเหล่านั้นผสมเข้าด้วยกันซึ่งทำให้เกิดสีขาว(หรือออกสีเทาจางๆ)
ความรู้เพิ่มเติม
     1. พฤติกรรมต่าง ๆ ของแสง
     1.1 การสะท้อน (Reflection) เป็นพฤติกรรมที่แสงตกกระทบบนตัวกลางและสะท้อนตัวออก ถ้าตัวกลางเป็นวัตถุผิวเรียบขัดมัน จะทำให้มุมของแสงที่ตกกระทบจะมีค่าเท่ากับมุมสะท้อน
     1.2 การหักเห (Refraction) เป็นพฤติกรรมที่ลำแสงหักเหออกจากแนวทางเดินของมัน เมื่อพุ่งผ่านวัตถุโปร่งแสง
     1.3 การกระจาย (Diffusion) เป็นพฤติกรรมที่แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคม เพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ
     1.4 การดูดกลืน (Absorbtion) เป็นพฤติกรรมที่แสงถูกดูดกลืนหลายเข้าไปในตัวกลาง โดยทั่วไปเมื่อพลังงานแสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในวัตถุใด ๆ มันจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
     1.5 การทะลุผ่าน (Transmission) เป็นพฤติกรรมที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง
     1.6 การส่องสว่าง (Illumination) ปริมาณแห่งการส่องสว่างบนพื้นผิวใด ๆ จะแปรตามโดยตรงกับความเข้มแห่งการส่องสว่าง (Illumination Intensity) ของแหล่งกำเนิดแสงและแปรตามอย่างผกผันกับค่าระยะทางยกกำลังส่องระหว่างพื้นผิวนั้นกับแหล่งกำเนิดแสง
     1.7 ความจ้า (Brighten) ความจ้าเป็นผลซึ่งเกิดจากการที่แสงถูกสะท้อนออกจากผิววัตถุ หรือพุ่งออกจากแหล่งกำเนิดแสงเข้าสู่ตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น