วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอนวันที่ 24 มิถุนายน 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอนวันที่ 24 มิถุนายน 2556
        อาจารย์ผู้สอนใก้นักศึกษาแลพสรุปควารู้จากการชม วีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
พร้อมให้นักศึกษาจดบะนทึกลงในใบงาน
- ความรู้ที่ได้รับ
ดันอากาศ คือแรงที่อากาศกระทำต่อวัตถุในทิศทางตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่หมายถึงพื้นที่ที่ใดที่หนึ่ง มีหน่วยเป็นนิวตั้นต่อตารางเมตร มีการนำแรงดันอากาศไปใช้ประโยชน์ดังนี้
- หลอดฉีดยา
- ลูกยางดูดกระจก
- ปากหมึกซึม
- ขวดแรงดัน
- กาลักน้ำ
อากาศมีสถานะเป็นก๊าซ แต่อากาศก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว เราเรียกน้ำหนักซึ่งกดทับกันลงมานี้ว่า “ความกดอากาศ” (Air pressure) ความกดอากาศจะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับตรงที่ความกดอากาศมีแรงดันอากาศทุกทิศทาง เช่นเดียวกับแรงดันอากาศในลูกโป่ง เมื่ออากาศเย็นซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ ในทางกลับกันหากอากาศร้อนก็จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์ นักอุตุนิยมวิทยาใช้เครื่องมือ "บารอมิเตอร์" อย่างละเอียดสำหรับวัดความกดอากาศ หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศนั้นอาจจะเป็นความสูงของปรอทเป็นนิ้วหรือเซนติเมตร ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรก็ได้ แต่ในปัจจุบันส่วนมากนิยมใช้หน่วยเป็นมิลลิบาร์ (millibar) เพราะเป็นหน่วยที่สะดวกกว่า

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วีนที่ 17 มิถุนายน 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วีนที่ 17 มิถุนายน 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
- อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษากาความรู้เพิ่มเติมและรวบรวมจากการทำบล็อก
ความรู้จากการทำบล็ิอกรวบรวมวามรู้ทางวิทยาศาสตร์
คู่มือการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เล่ม 1
 
กิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อกิจกรรม: ความลับของสี
จุดประสงค์
1.เพื่อฝึกการสังเกต
2.เพื่อฝึกการลงความเห็น
3.เพื่อฝึกการจำแนกเปรียบเทียบ

อุปกรณ์ : (ซึ่งคุณครูเป็นผู้จัดเตรียม)
1. สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน, น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
2. กระดาษกรองกาแฟ ,กรองตะกอนน้ำมัน
3. แก้วใส่น้ำ
วิธีการทำกิจกรรม
1. ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
2. ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
3. จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำเพราะสีจะลายลายลงน้ำ
4. รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง แล้วเห็นสีอะไรบ้าง
5. นำกระดาษไปหนีบผึ่งลมไว้ แล้วทดลองสีต่อไป


ผึ่งลมไว้ แล้วสังเกตสีที่เกิดขึ้น

เพราะอะไรจึงเกิดขึ้น
สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากันทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) เป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี
ประเมินผล
ครูสังเกตและบันทึกว่า
1.เด็กสามารถทำกิจกรรมตามที่ครูแนะนำได้หรือไม่
2.เด็กสามารถสังเกตและบอกสิ่งที่ได้สังเกตจากการทดลองเรื่อง "ความลับของสี" ได้หรือไม่
3. เด็กสามารถตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นหลังจากทำกิจกรรม "ความลับของสี" ได้หรือไม่
4.เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วยความสนใจ และมีทักษะต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามจุดประสงค์หรือไม่
ผลที่เด็กได้รับ

1. เด็กจะได้เรียนรู้ถึงทักษะการสังเกต จากการทดลอง
2.เด็กจะได้เรียนรู้ถึงทักษะการจำแนกประเภท จากการจำแนกสีที่เกิดขึ้น
3.เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องทักษะการลงความเห็น