แบบบันทึกการเรียนการสอนวันที่ 24 มิถุนายน 2556
อาจารย์ผู้สอนใก้นักศึกษาแลพสรุปควารู้จากการชม วีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
พร้อมให้นักศึกษาจดบะนทึกลงในใบงาน
- ความรู้ที่ได้รับ
ดันอากาศ
คือแรงที่อากาศกระทำต่อวัตถุในทิศทางตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่หมายถึงพื้นที่ที่ใดที่หนึ่ง
มีหน่วยเป็นนิวตั้นต่อตารางเมตร มีการนำแรงดันอากาศไปใช้ประโยชน์ดังนี้
- หลอดฉีดยา
- ลูกยางดูดกระจก
- ปากหมึกซึม
- ขวดแรงดัน
- กาลักน้ำ
อากาศมีสถานะเป็นก๊าซ แต่อากาศก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว เราเรียกน้ำหนักซึ่งกดทับกันลงมานี้ว่า “ความกดอากาศ” (Air pressure) ความกดอากาศจะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับตรงที่ความกดอากาศมีแรงดันอากาศทุกทิศทาง เช่นเดียวกับแรงดันอากาศในลูกโป่ง เมื่ออากาศเย็นซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ ในทางกลับกันหากอากาศร้อนก็จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์ นักอุตุนิยมวิทยาใช้เครื่องมือ "บารอมิเตอร์" อย่างละเอียดสำหรับวัดความกดอากาศ หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศนั้นอาจจะเป็นความสูงของปรอทเป็นนิ้วหรือเซนติเมตร ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรก็ได้ แต่ในปัจจุบันส่วนมากนิยมใช้หน่วยเป็นมิลลิบาร์ (millibar) เพราะเป็นหน่วยที่สะดวกกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น