วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 22 กรกฎาคม 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 22 กรกฎาคม 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
     เนื่องจากในวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัรอาสาฬหบูชา ทางมหาวิทยาลัยจึงไม่มีการเรียนการสอน
ความรู้เพิ่มเติม
     หาความรู้เพิ่มเติมนอกชั้นเรียน เรื่อง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำนำแสง
น้ำนำแสง
รู้จักเส้นใยแก้วนำแสงไหม?
เส้นใยแก้วเป็นเส้นใยที่ทำจากแก้วบริสุทธิ์และส่งสัญญาณแสงได้ เมื่อส่องแสงไปที่ปลายของเส้นใยแก้วนำแสง แสงจะสามารถเดินทางภายในเส้นใยแก้วและถูกส่งออกมาอีกด้านหนึ่งได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของแสงกับวัสดุ ประโยชน์ที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันคือการส่งข้อมูลได้จำนวนมาก เช่นสายอินเทอร์เน็ต นอกจากวัสดุที่เป็นแก้วแล้ว แสงยังสามารถเดินทางในน้ำเปล่า ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์เดียวกัน เรามาทำการทดลองเพื่อเรียนรู้หลักการการสะท้อนของแสงระหว่างพื้นผิวของวัสดุโปร่งแสง 2 ชนิด

     อุปกรณ์
     1. ไฟฉาย
     2. ขวดน้ำพลาสติกใส
     3. น้ำเปล่า
     4. กรรไกรหรือสิ่งที่เจาะรูกลมได้
วิธีทดลอง
     1. เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตรบริเวณใกล้กับฐานขวด
     2. จากนั้นใช้นิ้วอุดรูไว้ และเติมน้ำให้สูงกว่ารู
     3. ใช้ไฟฉายส่องด้านหลังขวดบริเวณตรงข้ามกับรู
     4. เอานิ้วออกจากรูและใช้มืออีกข้างรับน้ำที่ไหลออกมาจากรู
     5. สังเกตบริเวณปลายสุดของน้ำที่ไหลออกมา
      จากการทดลอง เมื่อเราส่องแสงไปในน้ำ แสงสามารถเดินทางมาตามลำน้ำได้จนถึงปลายทางของน้ำ ตามหลักการวิทยาศาสตร์กล่าวว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แต่ในการทดลองนี้ ถึงแม้ว่าสายน้ำจะโค้งแต่แสงก็เดินทางมาตามน้ำมาได้ เพราะเหตุใดแสงจึงเดินทางตามน้ำที่โค้งได้?
จริงๆ แล้วแสงยังเดินทางเป็นเส้นตรงจากอากาศ และสะท้อนออกมาเป็นเส้นตรงเมื่อตกบนพื้นผิว เช่นน้ำ ซึ่งบางส่วนของแสงจะสะท้อนกลับ และเนื่องจากน้ำโปร่งแสง แสงบางส่วนจึงสามารถเดินทางผ่านจากอากาศไปในน้ำได้ ในทางกลับกัน แสงที่เปล่งในน้ำสามารถเดินทางผ่านน้ำไปสู่อากาศได้ ดังลำแสงเส้นสีเขียวในรูปภาพนี้ (ลองทำการทดลอง “ลำแสงหักเห” จากเว็บไซต์ อพวช. หน้า “การทดลองวิทยาศาสตร์”)

      เมื่อแสงตกลงที่พื้นผิวระหว่างตัวกลางทั้งสอง ทำมุมเท่ากับหรือมากกว่า มุม θ ดั่งลำแสงสีแดงในรูปนี้ แสงทั้งหมดจะสะท้อนกลับเข้าตัวกลางเดิม ไม่สามารถผ่านพื้นผิวระหว่างสองตัวกลางได้ มุม θ หรือเรียกว่า มุมวิกฤตของแต่ละตัวกลางจะแตกต่างกัน ซึ่งปรากฏการณ์นี้คือการสะท้อนกลับหมด แสงในใยแก้วนำแสงและลำน้ำจึงสามารถสะท้อนกับพื้นผิวและเดินทางผ่านตัวกลางที่โค้งอยู่ และเปล่งออกมาอีกด้านหนึ่งได้

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 15 กรกฎาคม 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 15 กรกฎาคม 2556
เนื้อหาการเรียนการสอน
     - หลักการในการเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่เด็กสามารถทำได้
     - การทำให้เด็กเกิดความสนใจ
     - การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการใช้ของเล่นทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมการเรียนการสอน
     1. อภิปรายร่วมกันระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ผู้สอนเรื่องการเลือกกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ชนิดไหนที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้ดีที่สุด
     2. นักศึกษานำเสนอผลงานเรื่อง การจัดกิจดรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ของเล่น
ความรู้เพิ่มเติม
     1. วิธีเลือกของเล่นให้เด็ก

ในวัยเด็กเป็นช่วงวัยที่สำคัญต่อการมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ดังนั้นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่เร็งขึ้นคงหนีไม่พ้น ของเล่น ที่เด็กทุกคนหรือพ่อแม่ทั้งหลายได้เลือกมาให้ลูกๆ
     การเลือกของเล่นเด็ก เสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
หลักของการเลือกของเล่นที่มีผลต่อการเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในวัยเด็ก ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม เนื่องด้วยในวัยเด็กนี้จะเป็นวัยที่มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ หากเราได้หาสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเขาแล้ว เด็กก็จะเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสติปัญญาได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น.
     การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา ในขณะที่ผู้ผลิตของเล่นต่างแข่งขันผลิตออกมาขายจำนวนมาก บางครั้งผู้บริโภคไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้แต่คำอธิบายจากตัวสินค้าก็ไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจ ทำให้บางคนซื้อของเล่นให้ลูกเพราะคิดว่ามันน่าจะดีเท่านั้น
     การเลือกของเล่นที่ดีเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตามศักยภาพของเด็ก จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากของเล่นเป็นสื่อกลางช่วยเปิดโลกภายในของเด็กออกสู่ภายนอก ทำให้เด็กได้ค้นพบความสามารถหรือความถนัดของตนเองด้วยตนเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น ทว่าการเล่นของเล่นจะปราศจากความหมาย หากเด็กไม่ได้รับความสนใจเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดในการดูแลเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนการชี้แนะหรือเล่นร่วมกับเด็กเมื่อเด็กต้องการ
     รศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า ช่วงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งนี้ การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม
     รศ.ดร.จิตตินันท์ บอกว่า เด็กปฐมวัยจะมีความสุขสนุกสนานกับการเล่นในชีวิตประจำวันตามความสนใจและความพอใจของตนเอง ขณะที่เล่นนั้นเด็กได้ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการสำรวจคุณสมบัติของสิ่งที่เล่น ไม่ว่าจะเป็นคนที่เล่นด้วยหรือวัตถุสิ่งของหรือของเล่น พร้อม ๆ ไปกับการรับรู้สิ่งที่เล่นผ่านอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการทำงานของสมองในการจดจำเป็นข้อมูลความคิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้น
     "เด็กจะค่อยๆซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนเล่นหรือของเล่น โดยเฉพาะเมื่อเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองและมีผู้คอยชี้แนะให้ข้อมูลหรือสอนให้รู้จักคำบอกของชื่อเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว หรือความหมายของสิ่งเหล่านั้นทีละเล็กละน้อย จากเรื่องที่ง่ายๆไปสู่เรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ตามความสามารถของวัย"
     การเล่นและของเล่นสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็กอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่น ถือเป็นรากฐาน (foundation) ที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อๆมา เด็กที่ขาดโอกาสในการเล่น หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการเล่น ย่อมมีโอกาสที่จะประสบปัญหาในการเรียนรู้และมีพัฒนาการล่าช้าได้
รศ.ดร.จิตตินันท์ แนะนำหลักการเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างง่ายๆ 4 ข้อคือ
1. ต้องดูที่ความปลอดภัยในการเล่น ของเล่นอาจทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะ ที่ไม่มีอันตรายเกี่ยวกับผิวสัมผัสที่แหลมคมหรือมีชิ้นส่วนที่หลุดหรือแตกหักง่าย ตลอดจนทำด้วยวัสดุที่ไม่มีพิษมีภัยต่อเด็ก
2.ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นที่ดีควรช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้อยากรู้อยากเห็น มีสีสันสวยงามสะดุดตาเด็ก มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการ ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว
3.ประสิทธิภาพในการใช้เล่น ควรมีความยากง่ายเหมาะกับระดับอายุและความสามารถตามพัฒนาการของเด็ก ของเล่นที่ยากเกินไปจะบั่นทอนความสนใจในการเล่นของเด็กและทำให้เด็กรู้สึกท้อถอยได้ง่าย ส่วนของเล่นที่ง่ายเกินไปก็ทำให้เด็กเบื่อไม่อยากเล่นได้ และ
4.ความประหยัดทรัพยากร ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- ของเล่นที่ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวและการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนามประเภท เสาชิงช้า ราวโหน ไม้ลื่น ไม้กระดาน อุโมง บ่อทราย เครื่องเล่นที่มีล้อเลื่อนได้ เป็นต้น
- ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ เช่น ของเล่นประเภทบีบ ตี เขย่า สั่น หมุน บิด ดึง โยน ผลัก เลื่อน เป็นต้น
- ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน เช่น ของเล่นประเภทตอก กด ตี ปัก เย็บ ผูก กระดานปักหมุด ผูกเชือก ผูกโบว์ กรอกน้ำใส่ขวด เป็นต้น ของเล่นที่พัฒนาทักษะทางภาษา เช่น ภาพสัตว์ ผลไม้ ตัวพยัญชนะ เทปเพลง เป็นต้น
- ของเล่นที่ฝึกการสังเกต เช่น โดมิโน กระดานต่อภาพ กล่องหยอดบล็อกต่าง ๆ เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกทักษะการแก้ปัญหาและใช้สมาธิ เช่น ภาพตัดต่อ ของเล่นชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นสิ่งต่าง ๆ เกมค้นหาชิ้นส่วนที่หายไป เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 8 กรกฎาคม 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 8 กรกฎาคม 2556
เนื้อกาหารเรียนการสอน
- เรียนเรื่อง "การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ"
- การพัฒนากระบวรการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
     1. นักศึกษาชมวีดีโอเรื่อง "น้ำมหัศจรรย์" สามารถสรุปความรู้ได้ดังนี้
     1.1สถานะของน้ำ
     - ของแข็ง
     - ของเหลว
     - ก็าซ
     2. น้ำเป็นองค์ประกอบของทุกสิ่ง
     - ร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 70 เปอร์เซ็นต์
     - ผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 90 เปอร์เซ็นต์
     - ร่างกายสามารถขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน
     - อูฐสามารถขาดน้ำได้ไม่เกิน 10 วัน
     - ร่างกายของคนเราควรดื้มน้ำได้อย่างน้อย 7 แก้วต่อวัน
ความรู้เพิ่มเติม
     1.แหล่งของน้ำ
     น้ำเป็นสารประกอบเคมีที่มีมากที่สุดในโลก ประมาณ ¾ ของโลก ประกอบด้วยน้ำ พื้นน้ำมีมากกว่าพื้นดิน ร่างกายมีน้ำ 50-70% ของน้ำหนักร่างกาย อาหารที่รับประทานมีน้ำประกอบอยู่ด้วยไม่มีมากก็น้อย เช่น ก๋วยเตี๋ยวสุกมีน้ำ 76% ข้าว 11% กระหล่ำดอก 91% แตงโม 92.2% เนื้อหมูติดมันมีน้ำ 42% ปูทะเล 80% นมวัว 88.3% ผงโกโก้มีน้ำ 3.1% เป็นต้น
     2.ประโยชน์ของน้ำ
น้ำมีความจำเป็นรองจากออกซิเจน มนุษย์สามารุมีชีวิตอยู่ไปเป็นอาทิตย์โดยไม่รับอาหาร แต่ความตายจะตามมาหากร่างกายไม่ได้รับน้ำเพียงไม่กี่วัน การที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากๆ เช่น เวลาท้องเสียหรือท้องร่วงจะทำให้เกิด dehydration ขึ้นในร่างกาย หากร่างกายสูญเสียน้ำไป 10% จะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงและความตายจะตามมา หากร่างกายสูญเสียน้ำไป 20% น้ำในร่างกายช่วยในการย่อยอาหาร การขับถ่ายของเสีย การหมุนเวียนของสารในร่างกาย ช่วยในการรักษาความเป็นกรด-ด่างและอุณหภูมิในร่างกาย ร่างกายได้รับน้ำจากอาหารแห้งและอาหารเหลวและน้ำ โดยได้รับทั้งจากภายนอกร่างกายและภายในร่างกาย ขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารอาหารในร่างกายจะมีน้ำเกิดขึ้นด้วย น้ำในร่างกายจะสูญเสียไปทางเหงื่อ การหายใจ ปัสสาวะ และอุจจาระ
คุณสมบัติของน้ำทางกายภาพ (Physical properties)
น้ำบริสุทธิ์ไม่มีสี กลิ่น รส แข็งตัวที่ 0 oC (32 oF) และเดือดที่ 100 oC (212 oF)
น้ำจะมีความหนาแน่นมากที่สุด (Maximum density) ที่ 4 oC ความหนาแน่นจะน้อยลงเมื่ออุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่านี้ เมื่อเวลาน้ำแข็งตัว (0 oC) จะมีความหนาแน่นน้อยลง ทำให้น้ำแข็งลอยตัวได้และพบว่าปริมาตรเพิ่มขึ้นเกือบ 1/10 เมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง
จาก ความหนาแน่น = น้ำหนัก
ปริมาตร
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้เองเป็นเหตุที่ทำให้ท่อน้ำแตกหรือร้าวได้ เมื่ออากาศหนาวจนน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง ได้มีการใช้ antifreeze ใส่ในหม้อน้ำรถยนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง
     3.คุณสมบัติของน้ำทางเคมี (Chemical properties)
     3.1 Stability น้ำเป็นสารประกอบที่มีความทนทานที่สุดชนิดหนึ่ง ไม่สลายตัวง่ายๆ ด้วยความร้อน เมือน้ำถูกความร้อนที่ 100 oC ที่ความดัน 1 บรรยากาศ น้ำจะเดือดและกลายเป็นไอ ถึงแม้ว่าไอน้ำจะถูกควมร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่านี้อีกก็จะไม่มีการสลายตัว โมเลกุลของน้ำมีความคงทนมาก พบว่ามีการสลายตัวของโมเลกุลของน้ำน้อยมากถึงแม้ว่าจะได้รับอุณหภูมิถึง 1,600 oC
     3.2 Electrolysis น้ำจะสลายตัวได้ง่ายด้วยกระแสไฟฟ้า โดยจะเกิดการสลายตัวได้ gas hydrogen 2 ปริมาตร และ gas oxygen 1 ปริมาตร

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกการเรียนการสอน วันที่ 1 กรกฏาคม 2556

เนื้อหาการเรียนการสอน
- เรียนเรื่อง "การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแสง"
- ขั้นของการพัฒนาทางสติปัญญา
- แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. นักศึกษาชมวีดีโอเรื่อง "ความลับของแสง" ซี่งสามารถสรุปได้ดังนี้
     1.1 แสง คือ คลื่นระยะสั้น เดินทางด้วยความเร็ว 300,000 km/s
     1.2 คุณสมบัติของแสง
     - แสงเดินทางเป็นเส้นตรง 
     - วัตถุที่แสงไม่สามารถเดินทางผ่านได้คือ วัตถุประเภท วัตถุทึบแสง
     - วัตถุที่แสงสามารถเดินทางผ่านได้คือ วัตถุประเภท วัตถุโปร่งแสง และ วัตถุโปร่งใส
เพิ่มเติม : วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงเดินทางผ่านได้น้อย เช่น กระจกฝ้า
            วัตถุโปร่งใส คือ วัตถุที่ยอมให้แสงเดินทางผ่านได้มาก เช่น พสาลติกใส กระจกใส เป็นต้น
     - แสงกำเนิดจากสีทั้งหมด 7 สี เป็นส่วนประกอบ ดังนี้ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสรด แดง
     1.3 ประโยชน์ของแสง
     - สามารถนำไปประดิษฐ์สร้างเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่ออำนวยความสพดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การสร้องถ่ายภาพ  กล้องรูเข็ม เป็นต้น
2. องค์ประกอบทางวิทยาศาสตร์ มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้
     2.1 ความหมาย
     2.2 ความสำคะญ
     2.3 กระบวนการเรียนรู้
     2.4 แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
     2.5 พัฒนาการทางสติปัญญา
     2.6 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. ขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญา
     3.1 ขั้นประสาทสัมผัส แรกเกิด - 2 ปี
     3.2 ขั้นปฏิบัตืการ 2 - 6 ปี
เพิ่มเติม : การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดจากการที่เส้นใยวมองเชื่อมค่อกันพัฒนาได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
4. การทดลองที่เกี่ยวข้องกับแสง
     4.1 การทดลองเรื่องจานสีหมุนได้
     - วัสดุอุปกรณ์
     - กระดาษแข็งสีขาว
     - กรรไกร
     - ดินสอสี สีน้ำเงิน แดง เขียว
     - เชือก
     - เข็ม
    
4.2 ขั้นตอนการทดลอง
     1 ใช้วงเวียนวาดรูปวงกลมรัศมี 3 เซนติเมตรลงบนกระดาษแข็ง

     2 ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามลอยดินสอ
     3 แบ่งวงกลมเป็นสามส่วนเท่าๆกัน
     4 ใช้สีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินละบายลงบนช่องในวงกลมสีละช่อง
     5 ใช้เข็มเจาะรู 2 รูใกล้ๆกับจุดศูนย์กลางของวงกลม
     6 ตัดเชือกออกมาประมาณ 60 เซนติเมตร ร้อยเชือกผ่านรูทั้ง 2 แล้วจึงมัดปลายเชือกเข้าด้วยกันและปรับเชือกให้เป็นวงขนาดพอๆกันทั้ง 2 ด้าน
     7 ดึงเชือกที่ปลายทั้งสองข้าง แล้วหย่อนเชือกลงเล็กน้อยเพื่อให้เกิดการหมุน ค่อยๆดึงเชือกเข้าออกสลับกันอย่างช้าๆ ในการดึงแต่ละครั้งให้เพิ่มแรงขึ้นทีละน้อยๆจนกระทั่งกระดาษสามารถหมุนไปมาได้
     8 เมื่อกระดาษหมุนไปได้แล้ว ให้เรามองดูด้านที่มีสี เรายังสามารถแยกสีต่างๆออกจากกันได้หรือไม่ เกิดอะไรเมื่อกระดาษหมุนเร็วขึ้น ดังภาพ
     4.3 คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์     เมื่อแผ่นกระดาษหมุน ดวงตาของเราจะเห็นสี แดง ฟ้า เขียว ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อแผ่นกระดาษหมุนเร็วพอ สมองของเราจะไม่สามารถที่จะแยกสีเหล่านั้นออกจากันได้ เราจึงเห็นสีเหล่านั้นผสมเข้าด้วยกันซึ่งทำให้เกิดสีขาว(หรือออกสีเทาจางๆ)
ความรู้เพิ่มเติม
     1. พฤติกรรมต่าง ๆ ของแสง
     1.1 การสะท้อน (Reflection) เป็นพฤติกรรมที่แสงตกกระทบบนตัวกลางและสะท้อนตัวออก ถ้าตัวกลางเป็นวัตถุผิวเรียบขัดมัน จะทำให้มุมของแสงที่ตกกระทบจะมีค่าเท่ากับมุมสะท้อน
     1.2 การหักเห (Refraction) เป็นพฤติกรรมที่ลำแสงหักเหออกจากแนวทางเดินของมัน เมื่อพุ่งผ่านวัตถุโปร่งแสง
     1.3 การกระจาย (Diffusion) เป็นพฤติกรรมที่แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคม เพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ
     1.4 การดูดกลืน (Absorbtion) เป็นพฤติกรรมที่แสงถูกดูดกลืนหลายเข้าไปในตัวกลาง โดยทั่วไปเมื่อพลังงานแสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในวัตถุใด ๆ มันจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
     1.5 การทะลุผ่าน (Transmission) เป็นพฤติกรรมที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง
     1.6 การส่องสว่าง (Illumination) ปริมาณแห่งการส่องสว่างบนพื้นผิวใด ๆ จะแปรตามโดยตรงกับความเข้มแห่งการส่องสว่าง (Illumination Intensity) ของแหล่งกำเนิดแสงและแปรตามอย่างผกผันกับค่าระยะทางยกกำลังส่องระหว่างพื้นผิวนั้นกับแหล่งกำเนิดแสง
     1.7 ความจ้า (Brighten) ความจ้าเป็นผลซึ่งเกิดจากการที่แสงถูกสะท้อนออกจากผิววัตถุ หรือพุ่งออกจากแหล่งกำเนิดแสงเข้าสู่ตา